Monday, April 12, 2010

ปัญหาเรื่องเส้นผลตอบแทน Yield curve ของตราสารหนี้ จาก Pantip ห้องสินธร

รู้ว่าหาคนที่เล่นบอนด์ในนี้ได้ยาก (ส่วนใหญ่จะเป็น FM ซึ่งก็คงไม่ได้อยู่แถวนี้) แต่ไม่รู้จะไปถามใคร อยากได้ idea เลยลองมาตั้งดู
ประเด็นมีดังนี้ครับ

1. ปกติ การซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เราก็ซื้อขายโดยระบุ YTM มากกว่าจะเป็น price (ไม่ว่าจะเป็น dirty หรือ clean) และ หากซื้อได้ นั่นหมายความว่า เราจะได้ผลตอบแทนจากการถือตราสารหนี้ตัวนั้น เท่ากับ yield ที่เราเสนอ (โดยคิด time value ของกระแสเงินสดแล้ว) เช่น หากตกลงซื้อ LB155A ที่ 3.5% ก็จะได้ 3.5% ไปตลอดอายุ (การลงบัญชีก็คิด Amortized premium หรือ discount แล้วแต่กรณี จนค่าเป็น par ในวันหมดอายุ)

2. แม้ว่าในตำราจะบอกว่า yield curve มีหลายรูปแบบ แต่จริง ๆแล้วในภาวะปกติ มักจะเป็นรูปแบบ normal yield curve เสียเป็นส่วนใหญ่ (ผมดูมา 5 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็น YC บ้านเราเป็นแบบอื่นเลย แต่รู้สึกของ US จะมีแบบอื่น

3. มันมี technique ในการลงทุนอันนึงที่เรียกว่า riding the yield curve (เรียกถูกหรือเปล่า) คือ มองว่า ถ้าYC ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย การถือตราสารหนี้ที่เวลาผ่านไป ก็จะได้กำไรจะ yield ที่ลดลงตามเวลา
ตย. สมมุติ วันนี้ พันธบัตรอายุ 5 ปี YTM 3.5% พันธบัตรอายุ 4 ปี YTM 3.0% เราซื้อพันธบัตรอายุ 5 ปี ที่ 3.5%
1 ปีผ่านไป YCยังเหมือนเดิมทุกประการ พันธบัตรที่เราถือ ก็จะอายุ 4 ปี และ YTM ในตลาดคือ 3.0% (สมมุติอีกนิดนึงว่า duration = อายุ ) ก็จะได้ว่าหากเราขาย เราก็จะได้ ผลตอบแทนที่ 3.5% ของการถือมา 1 ปี รวมกับ capital gain อีก 0.5*4=2% กลายเป็นว่าเราได้ผลตอบแทน 3.5+2=5.5%

แน่นอนว่า สมมุติฐานนี้มันค่อนข้าง rigid ที่บอกว่า YC 1 ปี ไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่หากมองอีกมุมนึงก็หมายถึงว่า การซื้อ bond ที่อยู่ในตำแหน่งที่ YC steepening มาก ๆ เราก็มีแต้มต่อพอควร แม้ว่าดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น แต่ส่วน handicap ที่เรามีก็จะช่วยลดความเสี่ยง ร่วมกับ duration ที่ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป ก็ยิ่งที่ให้การซื้อ bond ที่ ตำแหน่งที่ YC steepening แม้ว่าจะรู้ว่าดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ก็ยังน่าสนใจ เพราะมี buffer ป้องกันในระดับนึง

คำถามคือ มันมีการวัดที่เป็นรูปธรรมไหม ว่า พันธบัตรที่อายุเท่าใด ที่จะได้ข้อดีของ riding the yield curve มากที่สุด (คือเหมือนกับการคิด yield แบบที่เอา probability ของการเปลี่ยนแปลง yield มาร่วมด้วย) เพราะศักยภาพ ของพันธบัตรที่มีแนวโน้มที่ yield จะลดลงเร็วเมื่อเวลาผ่านไป น่าจะมี ค่ามากกว่าตัวที่อยู่ในส่วน flattening curve

ช่วยสงเคราะห์หน่อย แล้วกันครับ อยากได้ความเห็นจากหลายๆ ท่าน

จากคุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 21:25:09 [แก้ไข]
ถูกใจ : CuSO45H2O





ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

มาตอบให้นะคะ เราเองอยู่กับตลาดมาได้สัก สามปีครึ่ง ตอบจากสิ่งที่เจอนะคะ
อาจจะไม่ถูกทั้งหมด ตอบเท่าที่รู้นะคะ

ข้อ ที่ 1. ตราสารหนี้ปกติ plain vanilla เวลาซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เรา quote กันเป็น yield คะ ซึ่งผลตอบแทนจากการถือครองเราจะได้เท่ากับ yield ที่เราซื้อมา ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไม่มีภาษี และคุณต้องถือตราสารหนี้ตัวนั้นจนกระทั่งครบอายุ

แต่มีบางกรณีที่คุณ อาจได้ผลตอบแทนไม่เท่ากับ yield ที่ซื้อไป คือกรณีตราสารหนี้ที่คุณซื้อไปมันหมดอายุ mature ในวันเสาร์-อาทิตย์ แล้วผู้ออกตราสารไม่จ่ายผลตอบแทนชดเชย ในระหว่างวันที่รอเรื่องโอนเงิน เคสนี้ yield to maturity จะไม่เท่ากันกับผลตอบแทนที่คุณได้รับ

ส่วน เรื่องการลงบัญชี เข้าใจถูกต้องแล้วคะ



ข้อ 2 yield curve บ้านเราเคยมีรูปแบบอื่นคะ

แต่โดยเฉลี่ยจะเป็น normal มีช่วงปี 2008 เป็นปีที่ yield curve ระหว่างปีหน้าตาค่อนข้างแปลก คือ invert ในบางช่วงอายุ อย่าง 1mth yield > 3yr yield
ปีนั้น คลับคล้ายคลับคลาว่า yield curve หน้าตาเหมือน สัญญลักษณ์ Nike เลย
รูป ตามที่ post คะ






จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 21:59:21 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 2 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

นั่งรอจดยิก ๆ เลยครับ

จาก คุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:02:53 [แก้ไข]




ความคิดเห็นที่ 3 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

คำถามคือ

มันมีการวัดที่เป็นรูปธรรมไหม ว่า พันธบัตรที่อายุเท่าใด ที่จะได้ข้อดีของ riding the yield curve มากที่สุด (คือเหมือนกับการคิด yield แบบที่เอา probability ของการเปลี่ยนแปลง yield มาร่วมด้วย) เพราะศักยภาพ ของพันธบัตรที่มีแนวโน้มที่ yield จะลดลงเร็วเมื่อเวลาผ่านไป น่าจะมี ค่ามากกว่าตัวที่อยู่ในส่วน flattening curve

จาก คุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]


เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:12:18 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 4 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ข้อ 3 นะคะ มี เทคนิคนั้น ใช่คะ riding the yield curve

คือ เราสมมติว่า yield curve มีรูปแบบ normal yield curve คือง่ายๆ อายุคงเหลือมากๆ ต้องมี yield มากกว่าอายุคงเหลือน้อยๆ แล้วเมื่อเวลาผ่านไป สมมติผ่านไป 1 ปี ให้ yield curve ไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงใดๆ pattern ยังไงก็เป็นอย่างนั้น

สมมติว่า ปีที่แล้ว Bond อายุคงเหลือ 4 ปีั ให้อัตราผลตอบแทน 4 %
Bond อายุคงเหลือ 5 ปีั ให้อัตราผลตอบแทน 5 %

เมื่อปีก่อนเราซื้อบอนด์ที่อายุคงเหลือ 5 ปี ที่ yield = 5% ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี บอนด์ที่เราซื้อไว้ปีก่อนก็จะเหลืออายุแค่ 4 ปี เท่านั้น
ภายใต้ สมมติฐานที่เราบอกว่า yield curve หน้าตาเหมือนเดิมมิเปลี่ยนแปลง

เรา ก็สามารถขาย bond ตัวนั้นที่ yield = 4% ตรงนี้คือ return ที่จะได้จากกลยุทธ์นี้คะ

คือตัว riding the yield curve = roll down = return from the impact of time

ส่วนผลตอบแทนของการถือมา 1 ปี ที่ 5% จริงๆเข้าใจว่าไม่รวมอยู่ใน riding the yield curve นะคะ เพราะส่วนตรงนั้น น่าจะเรียกว่า carry มากกว่า
(ภายใต้สมมติฐานว่าคุณไม่ ได้กู้มาลงทุนนะคะ)

ฉะนั้นการลงทุนภายใต้ข้อสมมติ yield curve ไม่เปลี่ยนแปลง คุณจะได้
total return = riding the yield curve ( Roll down return) + Carry return

จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:30:33 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 5 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

กลยุทธ์ riding the yield curve จะได้ผลดี มาก หาก yield curve steep มาก..อันนี้จริงค่ะะ

แต่ความเป็นจริงที่เกิดใน ตลาดคือ yield curve มันเปลี่ยนแปลงคะ กลัวจะเจอ ืon-parallel shift มากกว่า แล้วตัวเราเองมองว่า โครงสร้างตลาดตราสารหนี้เราบางช่วงอายุ ดูบิดเบี้ยวพิกล พูดง่ายๆว่า yield curve ปัจจุบัน ถ้าตัด curve มานั่งดู มันไม่สะท้อนเรื่อง การ trade บน view ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ถ้าดูทั้ง curve พบว่า ตอนนี้ทฤษฎี Market Segmentation กำลังมีผลอย่างมากกับตราสารหนี้ระยะยาวมากๆ

ง่ายๆ คุณลองสังเกต ผลประกอบการณ์ ธุรกิจประกันชีวิตในปีที่ผ่านมาสิ ด้วยเหตุนี้เราถึงรู้สึกแบบนั้น ซึ่งเหตุและปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิต ขยายตัวอย่างมากในปีก่อนๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ การรุกคืบของธุรกิจ Bancassurance ประกันพ่วงเงินฝากพวกนี้

ถ้า ธุรกิจตรงนี้เริ่มชะลอลงเมื่อไหร่ อาจจะทำให้ ความต้องการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวของประกันชะลอความร้อนแรงลงก็ได้... ตรงนี้ก็ส่งผลอีก.. แค่คงไม่เกิดขึ้นเร็วในต้นปีนี้หรอกคะ

ส่วน เรื่องการวัดเป็นรูปธรรม ว่า ตราสารตัวใดทำ riding the yield curve ได้ total return สูงสุด เราใช้ bloomberg ทำได้คะ

แต่ถ้าทำเอง เขียน excel เหนื่อยหน่อย เพราะต้องรู้ universe ตราสารหนี้ที่จะลงทุนทุกตัีว รวมทั้ง feature ของตราสาร ไหนจะผูกสูตรคำนวนราคาอีก เพื่อที่จะหา price change

แค่พันธบัตรรัฐบาลไทยปัจจุบันก็มีร่วม 54 ตัว เขียนเองเหนื่อยอะคะ

หรือง่ายๆ ก็ ใช้ทางลัด duration X yield change ก็พอเห็นภาพคร่าวๆ

จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:43:50 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 6 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ขอสารภาพว่า มึนมากๆ ไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านจขกท.และผู้ตอบได้discuss กันแม้แต่น้อย >_<

จาก คุณ : แม่น้องอะตอม [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 12 เม.ย. 53 05:56:31 [แก้ไข]

No comments:

Post a Comment