ปี 2551 ผลกระทบจากวิกฤติสินเชื่อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Sub prime) ทำให้เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จึงเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 4.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ0.00-0.25ผลกระทบของเศรษฐกิจต่างประเทศและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอตัวรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงแรกของปี 2552ล้วนสนับสนุนให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(MPC)ตัดสินใจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง จากระดับ ร้อยละ 3.75 ในเดือนธันวาคม 2551 สู่ระดับ ร้อยละ1.25 ในเดือนเมษายน 2552 เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้ปี2551ดัชนีผลตอบแทนรวมพันธบัตรรัฐบาล เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 18.8 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ของพันธบัตร อายุ 10 ปี ปรับลดลงจาก 4.94 มาอยู่ที่ 2.69 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มชะละตัวตามภาวะทางเศรษฐกิจของโลก และมีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศอย่างต่อเนื่องในปี 2552 ราคาตราสาหนี้โดยรวมในตลาดจึงปรับตัวขึ้นรวดเร็ว จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2552ที่ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 1.25ต่อปี เนื่องจาก ประเมินว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจบางตัวเริ่มชะลอการหดตัวลงและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ขณะที่แรงกระตุ้นจากนโยบายการคลังเริ่มมีความชัดเจน มีการเบิกจ่ายมากขึ้น และ มีอนุมัติแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการจ้างงานผ่านโครงการลงทุนของรัฐ ควบคู่กับการประคับประคองเศรษฐกิจในระยะถัดไปได้ การระดมทุนของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ได้ทำผ่านการออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไปและการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่งผลลบทางอ้อมต่อราคาตราสารหนี้จึงปรับตัวลดลงตามดูดซับสภาพคล่องในระบบบางส่วนผ่านการระดมทุนจากภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องติดตามวิเคราะห์แนวโน้มการลงทุนตราสารหนี้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2552 ได้แก่ ปัจจัยเรื่องความเสี่ยงด้านอุปทานของตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งมีแนวโน้มทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวจะปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ปัจจัยนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2552 โดยเราคาดว่าน่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25จนตลอดสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย ซึ่งมีแนวโน้มทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้น อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่การลงทุนในหุ้นกู้ของภาคเอกชนอาจคลายความระมัดระวังได้ระดับหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดและค่อยๆฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของบริษัทเอกชนต่างๆ เริ่มมีสภานะที่ปรับตัวดีขึ้น
No comments:
Post a Comment