มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมเป็นผู้กลัวความเสี่ยง (Risk Aversion) กล่าวคือ มัก “ลงทุน หรือ พัก” เงินก้อนใหญ่ของตนไว้ใน “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัญชีเงินฝากประจำ, กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ ตราสารหนี้ภาครัฐฯ” ภายใต้ความเข้าใจว่าสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ล้วนปลอดภัย มั่นคง และสามารถรักษาเงินต้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่คนโดยทั่วไปลืมคิดถึงคือ ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเข้า ความปลอดภัยจากการลงทุนในรูปแบบนี้จะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีต่อการเกษียณของตนเอง
ตาราง : เกณฑ์มาตรฐานในการใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ (Benchmark)
ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
จากตารางข้างต้น ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ หรือ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นๆ ให้อัตราผลตอบแทนเพียงประมาณ 1.00% เท่านั้น ซึ่งผลตอบแทนเพียงแค่นี้บนเงินออมยามเกษียณ อาจพอเพียงแค่ค่าอาหารธรรมดาๆ 3 มื้อต่อวันเท่านั้น หรือลองสมมติยืดอายุการลงทุนหรือการฝากเงินให้ยาวขึ้นกว่านี้หน่อย เช่น จากฝากเงิน/ลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ 3 เดือน เป็นเทอม 1 ปี ก็จะพบว่าได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น แต่ผลตอบแทนดังกล่าวก็ยังไม่พอเพียงต่อบรรดาค่าใช้จ่ายปัจจัยสี่ที่ต้องใช้ยามหลังเกษียณอายุ
อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันว่า อายุขัยเฉลี่ยของคนเรามีแนวโน้มจะยืนยาวมากขึ้น อันจะสังเกตได้จากตารางชีพสถิติประกันภัย (Life Expectancy Table) ที่ใช้ในธุรกิจประกันชีวิต มีช่วงอายุขัยเฉลี่ยที่ยาวมากขึ้น ด้วยอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่าคนวัยทำงาน (Non-Retirees) ควรต้องให้ความสำคัญต่อการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ (Investing Efficiently) ควรจำเป็นต้องมีมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ คือ “ขนาดเดียวใช้ได้หมด (One Size Fit All)” ซึ่งในความเป็นจริงมักไม่เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น มันเป็นการไม่เหมาะสมที่คนหนุ่มสาววัยเริ่มทำงาน จะมีพฤติกรรมการลงทุนเฉกเช่นคนชรา คือ เน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำหรือมีความเสี่ยงต่ำเพื่อที่รักษาเงินต้น การลงทุนที่ดีควรจะคำนึงถึงอายุของผู้ลงทุน, วัตถุประสงค์การลงทุน, ข้อจำกัดการลงทุนผนวกรวมไปกับความเสี่ยงในการลงทุนเข้าไปด้วยกัน
นอกเหนือจากนี้ นักลงทุนมักไม่ค่อยระแวดระวังว่าตัวเองกำลังผจญกับความเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว หรือลืมคิดว่า “ที่ๆปลอดภัยที่สุด คือที่ๆอันตรายมากที่สุดด้วยเช่นกัน” เช่น การที่ทุกคนในตลาดการเงินล้วนคิดคล้ายๆกันว่าการลงทุนในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นปลอดภัย อีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มความเสี่ยงให้กับการลงทุนโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่น คนส่วนใหญ่เชื่อว่าตราสารหนี้ภาครัฐนั้นเป็นแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยที่สุด (Safe-Haven) นั่นก็อาจเป็นที่ๆอันตรายที่สุด (ในแง่ความเสี่ยง) ด้วยเช่นกัน เพราะการที่ทุกคนมี อุปสงค์ (Demand) ในการลงทุนตราสารทางการเงินใดมากเป็นพิเศษจะผลักดันให้ราคาของตราสารนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนนั้นจะลดน้อยถอยลงด้วยเช่นกัน เราสามารถพูดได้ว่ามีโอกาสสูงที่ราคาตราสารนั้นกำลังตกอยู่ในภาวะฟองสบู่พร้อมที่จะแตกโพละได้ตลอดเวลา ฉะนั้นนักลงทุนที่รู้รอบควรจะหลีกเลี่ยงกับการลงทุนในตราสารประเภทดังกล่าวนี้
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ, การฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ อาจเป็นทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยและดีที่สุดสำหรับการรักษาเงินต้นให้เพียงพอค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของคนที่พ้นวัยทำงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณยังอยู่ในวัยทำงานและไม่ต้องการชีวิตหลังเกษียณที่ลำบากยากเข็ญมากนัก เป้าหมายการลงทุนของคุณควรถอยฉากจากสินทรัพย์ที่เผชิญภาวะฟองสบู่และเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากขึ้นเพื่อเป้าหมายการเกษียณสุขในระยะยาว
ที่มา : On Bond Bubbles and Retirement โดย Wade Slome
Thursday, December 30, 2010
Wednesday, October 20, 2010
ยุทธการเงินตรา (Currency Battle)
ปี 2010 ในช่วงเวลาคนส่วนใหญ่ต่างดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขไร้ซึ่งความขัดแย้งใดๆระหว่างชาติพันธุ์, ดินแดน หรือกลุ่มศาสนา ในช่วงเวลาแห่งความสงบสุขนั้นเอง 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจกำลังเพาะบ่มปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศจนขยายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศและก่อให้เกิดสงครามเงินตราทั่วโลกในช่วงเวลาถัดมา
มูลเหตุแห่งปัญหา : เป้าหมายที่แตกต่าง
· สหรัฐอเมริกา : สิ่งที่สหรัฐฯกำลังดำเนินการ ณ เวลาปัจจุบัน คือ การเลือกขยายระยะเวลาที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเกินกว่าระดับปกติ (Quantitative Easing Monetary Policy) ต่อไปเพื่อมุ่งหวังที่จะป้องกันปัญหาเงินฝืด (Deflation) ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งผลสืบเนื่องของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจผ่อนคลายมากกว่าปกติก็คือ การอ่อนค่าอย่างมากของเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามผลของการที่สหรัฐฯเลือกดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากกว่าปกติ (Quantitative Easing) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้มีผลจำกัดเพียงแต่ภายในสหรัฐฯเท่านั้น แต่มีผลขจรขจายไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งผลนั้นอาจถูกตีความได้ทั้งแง่บวกและลบต่อเศรษฐกิจโลกคือ มุ่งหวังให้ดุลการค้าสหรัฐฯขาดดุลลดน้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแรงมากขึ้นก็เป็นการเพิ่มอุปสงค์มวลรวมของเศรษฐกิจโลกด้วย
· จีน : ในกรณีของประเทศจีนสถานการณ์นั้นแตกต่างกับสหรัฐฯอย่างสุดขั้ว จีนไม่มีความจำเป็นที่ต้องต่อสู้กับปัญหาเงินฝืด แต่สิ่งที่จีนพยายามต่อสู้และป้องกันคือ “ปัญหาเงินเฟ้อ (Inflation)” ที่อาจเกิดจากการขยายตัวอย่างร้อนแรงมากเกินไปของเศรษฐกิจจีน และในขณะเดียวกันก็พยายามรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวภายในกรอบแคบๆและมีมูลค่าอ่อนค่ามากกว่าความเป็นจริง (Undervaluation) ด้วย การที่จีนสามารถเลือกให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามากกว่ามูลค่าที่แท้จริงสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อ “Impossible Trinity” เพราะจีนเลือกที่จะคุมการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศผ่านตลาดสินทรัพย์ทางการเงิน (Capital Control in Financial Asset Market) จึงสามารถกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอิสระต่อนโยบายการเงินภายในประเทศได้ ด้วยการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Tightening Monetary Policy) เพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อนั้น มีผลรวมต่อเศรษฐกิจโลกคือ ลดอุปสงค์มวลรวมของเศรษฐกิจโลก
จากข้อมูลข้างต้นเราพบว่า 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างเผชิญเป้าหมายที่แตกต่างกันสุดขั้ว จึงทำให้แนวนโยบายที่แต่ละฝ่ายเลือกดำเนินการนั้นขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงและไม่สามารถเติมเต็มความต้องการของแต่ละฝ่ายได้ ความขัดแย้งในนโยบายเศรษฐกิจนี้ได้ก่อกำเนิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบ : ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ด้วยการดำเนินมาตรการ Quantitative Easing ของสหรัฐ ทำให้เงินดอลลาร์จำนวนมหาศาลถูกอัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินโลก และโดยธรรมชาติ เงินทุนเหล่านี้พยายามวิ่งเข้าหาแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง ฉะนั้นเราจึงเห็นเงินทุนจำนวนมหาศาลเลือกไหลเข้าประเทศที่มีเสรีในการเข้าออกของเงินทุน (Free Capital Mobility) และให้อัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ หรืออัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการถือครองสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์โดยเปรียบ
จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging Market ที่สามารถฟื้นตัวได้ไวหลัง Financial Crisis ปี 2008 ทำให้ประเทศเหล่านี้มีเงินทุนไหลเข้ามามาก ด้วยปริมาณดอลลาร์ในระบบที่ถูกอัดฉีดในปริมาณที่มากกว่าปกติจึงทำให้ค่าเงินของบรรดาประเทศ Emerging Market แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าผู้ที่มีรายได้จากการค้าขายระหว่างประเทศจะปรับตัวตามได้ทัน
การบรรเทาผลกระทบ : การเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บ
ตราบใดที่เงินดอลลาร์ยังถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเรื่อยๆ มันก็เป็นการยากที่จะทำให้ค่าเงินของประเทศ Emerging Market อ่อนค่าลงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออก เพราะการจะแทรกแซงเงินทุนจำนวนมหาศาลได้สำเร็จนั้นหมายความว่าประเทศที่เข้าแทรกแซงจะต้องมีเงินทุนจำนวนมหึมาด้วยเช่นกันหรือมีกำแพง (Capital Control) ที่แข็งแรงเพียงพอที่กั้นไม่ให้เงินทุนภายนอกสามารถหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างรวดเร็วได้
ด้วยความสามารถในควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดของประเทศ Emerging Market สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ควรทำในยามที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมหาศาลนี้คือ
· เยียวยาผู้ที่ทำการค้าระหว่างประเทศด้วยการหามาตรการเสริมเพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินการธุรกิจ ให้อย่างน้อยผู้ที่ทำการค้าระหว่างประเทศพอที่จะรักษาส่วนต่างระหว่างรายรับและต้นทุนไว้ไม่ให้ลดลงไปมากหลังจากที่รายรับลดลงจากการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศนั้นๆ
· ภาครัฐต้องพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการเร่งขยายการลงทุนทั้งภาคเอกชนผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนหรือการลงทุนโดยตรงของภาครัฐเอง เพราะการนำเข้าต้นทุน วัตถุดิบ หรือสินค้าทุนในช่วงเวลาค่าเงินแข็งจะได้ราคาที่ถูกกว่าปกติ ในขณะเดียวกันการนำเข้ามากๆส่งผลให้ดุลการค้าที่เคยเกินดุลปรับตัวแคบลงส่งผลให้ช่วยชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้บ้าง
บทสรุป : จุดจบของยุทธการ
เนื่องด้วยเป้าหมายของ 2 ประเทศมหาอำนาจยังไม่สามารถบรรจบกันได้ ทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีสภาพที่ไร้ความสมดุลหรือมี Shortfall เกิดขึ้น ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงของบรรดาประเทศเล็กๆที่ต้องเตรียมรับมือและแก้ทางกับปัญหากระแสเงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าประเทศตราบใดที่ข้อขัดแย้งด้านอัตราแลกเปลี่ยนของทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจยังคงดำรงอยู่ต่อไป
Thursday, September 30, 2010
Pimco eyes growth in active equity, Asian bonds
The firm is hiring portfolio managers with active equity experience to focus on emerging markets, and is seeking to create a product to cater to rising global demand for local currency Asian bonds.
Pimco is strategically hiring portfolio managers with active equity experience and is busy building a product to meet growing international demand for Asian bonds.
To date the firm has focused on hiring in New York and London, but Brian Baker, CEO and director of Pimco Asia, foresees that equity investment specialists will be placed in Asia at some point.
Pimco added active equity investing to its range of services in March this year. It has a global equity product and is in the process of developing an emerging market equity product.
“The focus of our active equity product development will be in areas we think investors need to look at in the ‘new normal’,” he explains. “Our focus is going to be more on global equity markets and emerging equity markets, and less so on the US market.”
According to Baker, Pimco Asia manages over $30 billion in assets for more than 100 clients in the region out of a global AUM total of $1.1 trillion. Outside of fixed income, it has a complex of global macro-focused hedge funds, and invests in real estate and distressed private equity opportunities. It also invests in both passively and actively managed exchange-traded funds (ETFs).
Baker says the group manages over $15 billion in enhanced equity products – or passive exposure to an equity index through derivatives – but opted to move into active equities in response to client requests.
Pimco Asia also sees increasing demand both regionally and globally for exposure to Asian bond markets and Baker confirms it is looking to establish a product to meet this demand. “We continue to see greater interest in Asian local currency bonds globally,” he says.
“If you look at the historical allocation of a pension plan in the US, they have had roughly 3-5% of their exposure to emerging markets. That is significantly underweight relative to the emerging markets contribution to GDP. So we think that will be reweighted.”
Baker is anticipating rapid development of Asia’s local bond markets as countries come to the realisation that they need to develop domestic demand. This will lead to wealth creation, which will require better means for savers to invest their wealth.
“I think because of regulatory uncertainty overseas, more and more companies will want to raise capital locally, and if your expansion is going to be geared towards the domestic market, you would be borrowing in local currency to build factories, buy equipment for domestic production,” he notes.
Lack of liquidity and access to individual markets are two challenges that Pimco Asia faces. Baker notes that the firm is discussing the benefits of applying for a qualified foreign institutional investor (QFII) licence for China, but that no timeframe has been established on a decision.
The market for local currency bonds in Asia ex-Japan has grown from $68 billion in 2004 from 878 issues to $273 billion via 1,562 issues in 2009, according to data provider Dealogic. Already in 2010 local currency bonds have raised $263 billion via 1,954 issues.
China’s tally has risen from 17 issues in 2004 worth $13.1 billion to 284 issues worth over $159 billion in 2009. Already in 2010 China has seen 280 local currency bond issues worth a total of $159.3 billion.
China made up 1.93% of the Asia ex-Japan total in issuance in 2004 and 19% in value. By the end of last year the percentages stood at 18% for issuance and 58% for value.
Pimco Asia is the regional business of Pimco Group, one of the largest bond managers in the world which was widely credited for foreseeing the US housing crisis. It positioned for a steepening yield curve and focused on high-quality credit on the understanding that investment grade corporate bonds and non-agency mortgages would thrive in a slowing economy.
Pimco’s total return mutual fund domiciled in the US, its flagship product, returned 14.35% before fees in 2009.
To date the firm has focused on hiring in New York and London, but Brian Baker, CEO and director of Pimco Asia, foresees that equity investment specialists will be placed in Asia at some point.
Pimco added active equity investing to its range of services in March this year. It has a global equity product and is in the process of developing an emerging market equity product.
“The focus of our active equity product development will be in areas we think investors need to look at in the ‘new normal’,” he explains. “Our focus is going to be more on global equity markets and emerging equity markets, and less so on the US market.”
According to Baker, Pimco Asia manages over $30 billion in assets for more than 100 clients in the region out of a global AUM total of $1.1 trillion. Outside of fixed income, it has a complex of global macro-focused hedge funds, and invests in real estate and distressed private equity opportunities. It also invests in both passively and actively managed exchange-traded funds (ETFs).
Baker says the group manages over $15 billion in enhanced equity products – or passive exposure to an equity index through derivatives – but opted to move into active equities in response to client requests.
Pimco Asia also sees increasing demand both regionally and globally for exposure to Asian bond markets and Baker confirms it is looking to establish a product to meet this demand. “We continue to see greater interest in Asian local currency bonds globally,” he says.
“If you look at the historical allocation of a pension plan in the US, they have had roughly 3-5% of their exposure to emerging markets. That is significantly underweight relative to the emerging markets contribution to GDP. So we think that will be reweighted.”
Baker is anticipating rapid development of Asia’s local bond markets as countries come to the realisation that they need to develop domestic demand. This will lead to wealth creation, which will require better means for savers to invest their wealth.
“I think because of regulatory uncertainty overseas, more and more companies will want to raise capital locally, and if your expansion is going to be geared towards the domestic market, you would be borrowing in local currency to build factories, buy equipment for domestic production,” he notes.
Lack of liquidity and access to individual markets are two challenges that Pimco Asia faces. Baker notes that the firm is discussing the benefits of applying for a qualified foreign institutional investor (QFII) licence for China, but that no timeframe has been established on a decision.
The market for local currency bonds in Asia ex-Japan has grown from $68 billion in 2004 from 878 issues to $273 billion via 1,562 issues in 2009, according to data provider Dealogic. Already in 2010 local currency bonds have raised $263 billion via 1,954 issues.
China’s tally has risen from 17 issues in 2004 worth $13.1 billion to 284 issues worth over $159 billion in 2009. Already in 2010 China has seen 280 local currency bond issues worth a total of $159.3 billion.
China made up 1.93% of the Asia ex-Japan total in issuance in 2004 and 19% in value. By the end of last year the percentages stood at 18% for issuance and 58% for value.
Pimco Asia is the regional business of Pimco Group, one of the largest bond managers in the world which was widely credited for foreseeing the US housing crisis. It positioned for a steepening yield curve and focused on high-quality credit on the understanding that investment grade corporate bonds and non-agency mortgages would thrive in a slowing economy.
Pimco’s total return mutual fund domiciled in the US, its flagship product, returned 14.35% before fees in 2009.
Thursday, August 19, 2010
Overseas demand rises for Indian bonds
Overseas demand rises for Indian bonds
Foreign institutions have hit their investment limits for corporate and government bonds in India, according to RBS, but those thresholds are likely to rise.
Foreign institutional investors have recently become a driving force in India’s secondary market for corporate bonds, accounting for almost half of overall volumes in the first four months of 2010, says UK bank RBS. They have also hit their ceiling for investments in government securities (GSecs).
However, the Indian authorities are considering raising the aggregate thresholds, which stand at $5 billion for GSecs and $15 billion for corporate bonds, added RBS in a report on the country's fixed-income market published yesterday.
But it’s a gradual process. “While the Indian fixed-income market is characterised by a well-defined set of rules and regulations and a deep, mature GSec market,” says the bank. “the slow growth of the corporate bond market as well as retail investors’ participation are areas for future development.”
“Although credit rating and issuer knowledge are generally quite well developed relative to other emerging markets, an active secondary market and credit curve have not fully evolved,” adds RBS. “Addressing these deficiencies are acknowledged priorities of the Securities and Exchange Board of India.”
The Reserve Bank ofIndia , for its part, has every now and then initiated measures to develop the corporate bond market, which stands at "barely a fraction" of the government bond market, says the report.
Among domestic institutions, the major investors in the GSec market include banks, pension funds and insurance companies, with banks accounting for just below 70% of the total market.
Meanwhile, retail investors have very low participation in the fixed-income market, but over the past few years, they have gradually increased their participation in mutual funds and bond funds, says RBS. To enable small and medium-sized retail investors to participate in the auction process, the RBI has introduced non-competitive bidding in GSecs.
On the supply side, central and local governments are the biggest issuers in the market, notes RBS, with banks and financial institutions the next largest.
But corporate issuance has not been keeping pace with the average market growth over the years. The average issue size of corporate bonds is a mere 1 billion rupees ($21 million), as against the average GSec issue size of 150 billion rupees.
As for tenor, the GSec market also offers the longest maturity -- of up to 30 years -- while corporate bonds have tenors going out to 20 years, says RBS. That said, the maturity profile of the GSec market is bunched up heavily in the four-year to eight-year segment.
© Haymarket Media Limited. All rights reserved. However, the Indian authorities are considering raising the aggregate thresholds, which stand at $5 billion for GSecs and $15 billion for corporate bonds, added RBS in a report on the country's fixed-income market published yesterday.
But it’s a gradual process. “While the Indian fixed-income market is characterised by a well-defined set of rules and regulations and a deep, mature GSec market,” says the bank. “the slow growth of the corporate bond market as well as retail investors’ participation are areas for future development.”
“Although credit rating and issuer knowledge are generally quite well developed relative to other emerging markets, an active secondary market and credit curve have not fully evolved,” adds RBS. “Addressing these deficiencies are acknowledged priorities of the Securities and Exchange Board of India.”
The Reserve Bank of
Among domestic institutions, the major investors in the GSec market include banks, pension funds and insurance companies, with banks accounting for just below 70% of the total market.
Meanwhile, retail investors have very low participation in the fixed-income market, but over the past few years, they have gradually increased their participation in mutual funds and bond funds, says RBS. To enable small and medium-sized retail investors to participate in the auction process, the RBI has introduced non-competitive bidding in GSecs.
On the supply side, central and local governments are the biggest issuers in the market, notes RBS, with banks and financial institutions the next largest.
But corporate issuance has not been keeping pace with the average market growth over the years. The average issue size of corporate bonds is a mere 1 billion rupees ($21 million), as against the average GSec issue size of 150 billion rupees.
As for tenor, the GSec market also offers the longest maturity -- of up to 30 years -- while corporate bonds have tenors going out to 20 years, says RBS. That said, the maturity profile of the GSec market is bunched up heavily in the four-year to eight-year segment.
Friday, June 18, 2010
Policy Rate Normalization Process will Begin soon !
ผลพวงจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและลุกลามไปยังภาคส่วนต่างๆทั่วโลกล้วนส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกนั้นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากกว่าระดับปกติ ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ประเทศไทยเอง ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วย จะเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับร้อยละ 3.75 มาสู่ระดับร้อยละ 1.25 ซึ่งมีผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพาเหรดกันปรับตัวลดลง จนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในทุกวันนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เต็มบาท
อย่างไรก็ตาม ในครึ่งหลังของปี 2552 เศรษฐกิจในบางภูมิภาคเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น นั่นก็คือ ภูมิภาคเอเชีย เศรษฐกิจเอเซียเองอาจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ไม่ได้รุนแรงนักเท่าภูมิภาคอื่น ฉะนั้นขาพลิกฟื้นจึงตีกลับได้ค่อนข้างง่ายและเร็วกว่าภูมิภาคอื่น อันจะเห็นได้จากตัวเลขภาคการส่งออกที่เป็นตัวจักรสำคัญตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ที่ขยายตัวค่อนข้างมาก จากฐานที่ต่ำในปีก่อน, คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น และการค้าภายในภูมิภาคที่สูงขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Area) ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสัญญา FTA หลายฉบับกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีเป็น 0 เพิ่มเติมในรายการสินค้าเกือบทั้งหมด (กว่าร้อยละ 90) ภายในปี 2553 จึงทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียขยายตัวเป็นอย่างมาก และยังมีแรงส่งต่อ (Momentum) มายังไตรมาสแรกของปี 2553
จากตัวเลขส่งออกที่ขยายตัวดีมากของภูมิภาคเอเชียส่งผลให้ IMF ปรับประมาณการตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth Rate) ของภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น จากสมมติฐานที่เชื่อว่า การค้าภายในกลุ่ม (Intra-Trade) ที่เพิ่มสูงขึ้นล้วนส่งผลดีให้แต่ละประเทศได้ประโยชน์ร่วมกันจากประสิทธิภาพของตลาดการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น จากสมมติฐานนี้จะเห็นได้ว่าตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ปี 2553 ที่นานาประเทศในแถบเอเชียประกาศออกมาล้วนมี Theme ไม่แตกต่างกันคือ Intra-trade เป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเซีย
ในกรณีของประเทศไทย การส่งออกที่ขยายตัวเกินคาดส่งผลสืบเนื่องไปยังการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการเผลิตเพื่อการส่งออกสูงด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากรายงานการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะได้อานิสงค์จากการส่งออกที่ขยายตัวเกินคาด ยังได้อานิสงค์จากการเลื่อนการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Goods) ในช่วงปี 2552 มาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในต้นปี 2553 นี้ อันจะเห็นได้จากยอดขายรถยนต์ในงาน Motor Show ครั้งล่าสุดที่ทำสถิติยอดขายสูงถึง 25,000 คัน มากกว่าปีก่อนถึง 10,000 คัน และ รายได้ภาคเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาและปริมาณพืชผลทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้บรรดาเกษตรกรมีรายได้สำหรับจับจ่ายใช้สอยสูงขึ้น ซึ่งอาจจะดูสะท้อนผ่านยอดขายรถมอเตอร์ไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้น ก็พอจะเห็นภาพคร่าวๆว่าเศรษฐกิจไทยล้วนมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเป็นลำดับ อันที่จริงแล้วแค่ภาคส่งออกขยายตัวเกินคาดก็ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยมากโข เพราะ Contribution หลักของ GDP ฝั่งอุปสงค์ก็คือการส่งออกที่คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 60 เป็นอย่างน้อยของสมการรายได้ประชาชาติ Y=[C+I+G+(X-M)]
ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนก็เพียงพอระดับหนึ่งที่แสดงถึงความพร้อมของระบบเศรษฐกิจต่อกระบวนการปรับอัตราดอกเบี้ยในระบบสู่ภาวะปกติ (Normalization Process) เพราะการปล่อยดอกเบี้ยในระบบอยู่ระดับต่ำจนเกินไปอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เพราะจะก่อให้เกิดปัญหา Asset Inflation ได้ และ ดอกเบี้ยต่ำๆทำให้เศรษฐกิจไม่มี กันชน (Buffer) สำหรับป้องกันปัญหา Price Stability ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่การจะดำเนิน Normalization Process ที่เร็วเกินไปในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่แข็งแรงพอก็ไม่เป็นการดี เพราะอาจจะเป็นตัวสกัดกั้นการฟื้นตัว (Recovery) เป็นลำดับของระบบเศรษฐกิจได้
อย่างไรก็ตามด้วยปัญหาการเมืองที่ปะทุความรุนแรงระหว่างไตรมาส 2 ปี 2553 ส่งผลให้การที่จะดำเนินการ Normalization Process ต้องถูกเลื่อนเวลาออกไป อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองผลกระทบของปัญหาการเมืองดังกล่าวมีผลกระทบในวงจำกัดน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ครั้งปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เหตุผลคือ การชุมนุมที่เกิดขึ้นนั่นเกิดขึ้นกระจายเป็นหย่อมๆทั่วประเทศก็จริง โดยมีการปิดแยกราชประสงค์เป็นจุดยุทธศาสตร์หลัก การปิดแยกราชประสงค์ล้วนทำให้คนเมืองหลวงประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย ผลสุทธิของการชุมนุมครั้งนี้ต่อระบบเศรษฐกิจคือ บั่นทอนความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชน และ สร้างความเสียหายแก่บางภาคเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการชุมนุมเองก็เกิดขึ้นในบริเวณต่างจังหวัด แต่ผลกระทบดูจะไม่รุนแรงเท่าเขตเมืองหลวง เพราะการดำรงชีวิตของคนต่างจังหวัดยังทำมาหากินได้ตามปกติ เว้นแต่บางเขตจังหวัดที่อาศัยรายได้หลักจากภาคบริการ ก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชะลอการมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
แต่สิ่งหนึ่งทีเราไม่อาจปฏิเสธได้ คือ การชุมนุมอาจก่อให้เกิดการขัดข้องในการคมนาคม หรือ ขนส่งบ้างในเขตเมืองหลวง แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อระบบ Logistic โดยรวมทั้งประเทศ การขนส่งสินค้าเพื่อการส่งออกไม่ได้โดยกระทบอะไรมากนัก สินค้ายังสามารถจัดส่งไปยังผู้ซื้อต่างประเทศได้ตามกำหนดเวลา นั่นคือการผลิตเพื่อส่งออกยังสามารถทำได้เสมอ คำสั่งซื้อสินค้าจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ลดลงตามปัญหาวิกฤติดังกล่าวไปด้วยมากนัก ด้านภาคการเกษตรก็ไม่ได้โดนกระทบอะไรมากนักจากปัญหาวิกฤติการณ์การเมืองในครั้งนี้ เพราะการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวยังทำงานได้ตามปกติไม่ได้ถูกกระทบอะไรจากการชุมนุมทางการเมือง พูดง่ายๆ ตัวจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 53 นั้นยังคงทำงานได้ดีอยู่ ส่วนภาคที่โดนกระทบหลักๆคือภาคบริการ คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
กลับย้อนมาถึงกรณีปิดสนามบิน การปิดสนามบิน เท่ากับเป็นการตัดช่องทางการขนส่งสินค้าและบริการที่สำคัญที่สุดไปอย่างหนึ่ง สินค้าส่งออกไปนอกประเทศไม่ได้ เราไม่สามารถส่งออกบริการ ผ่านการนำนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในประเทศไทยไม่ได้ แต่เหตุการณ์ครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม กลไกดังกล่าวยังทำงานได้ดีอยู่แม้จะไม่มีประสิทธิผลเต็มที่ ฉะนั้นการที่ตัดช่องทางการส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่สุดของ GDP ทำให้เหตุการณ์ครั้งปิดสนามบินนั้นจะมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจมาก
โดยสรุป เหตุการณ์การชุมนุมแยกราชประสงค์นั้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไม่ได้มากนักอย่างที่เราจินตนาการ แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบรุนแรงก็คือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่หายไปเท่านั้น ฉะนั้นทางที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวก็คือ เราต้องฟื้นความเชื่อมั่นของภาคเอกชนให้ได้ก่อนที่จะดำเนินการ Normalization Process เป็นลำดับถัดไป
เหตุสำคัญที่เราต้องฟื้นความเชื่อมั่น หรือปูความเชื่อมั่นคือ การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบของสายการเงินนิยม (Monetarist) สิ่งสำคัญคือ การพยายาม Manage Expectation ของตลาดให้ไปในทางเดียวกันกับการดำเนินนโยบายการเงิน เพราะหาก Policy Maker เลือกดำเนินนโยบายแบบไม่คาดคิด (Surprise monetary policy actions) จะเกิด Shock หรือ Error ต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้ GDP หดตัวกะทันหัน หรือขยายตัวแบบกะทันหัน ตามแต่นโยบายการเงินที่เลือกในขณะนั้นใช้ว่าจะเป็นแบบหดตัวหรือแบบขยายตัว และเมื่อตลาดปรับการคาดการณ์สู่ดุลยภาพได้ GDP สุทธิจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร แต่จะเปลี่ยนแปลงแค่เพียงระดับราคา (Price Level) ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ที่พึงปรารถนาของผู้ดำเนินนโยบายการเงิน ฉะนั้น Policy maker ต้องพยายามแผ้วทาง Expectation ของตลาดให้ไปในทางเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับสิ่งที่ธนาคารกลางจะกดำเนินการมากที่สุด
จากข้อความข้างบนจะพบว่า ตอนนี้เราจะเห็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สัมภาษณ์ในทิศทางเดียวกันมากขึ้นว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากปัญหาการเมือง แต่ปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจไทยคือการฟื้นฟูความเชื่อมั่น หากความเชื่อมั่นเริ่มฟื้นคืนกลับมา ธนาคารแห่งประเทศไทยก็พร้อมที่จะดำเนินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ส่วนปัญหาอื่นๆที่คนต่างกังวลกัน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติหนี้ยุโรป แม้จะมีัข่าวว่า บรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่างดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัวด้วยการรัดเข็มขัดทางการคลัง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะมีปริมาณการค้าไม่ใช่น้อยกับภูมิภาคดังกล่าว อย่างไรก็ตามเราคาดว่าผลกระทบดังกล่าวไม่น่าจะรุนแรงนัก เพราะมูลค่าการส่งออกของไทยไปสหภาพยุโรปนั้นมีสัดส่วนราว ร้อยละ 13 – 15 เทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และสินค้าที่เราส่งไปสหภาพยุโรปส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำพวกสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณีและเครื่องประดับที่มีประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าที่สำคัญสุดของไทยในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่บรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทยไปส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออกต่อ (Re-Export) รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมนาฬิกาและเครื่องประดับของหลายประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ฉะนั้นเราจึงเชื่อว่าการรัดเข็มขัดการคลังของนานาประเทศในสหภาพยุโรปคงไม่กระทบไทยรุนแรงนักตราบใดที่โครงสร้างสินค้าส่งออกจากไทยไปสหภาพยุโรปยังเป็นสินค้าจำพวกวัตถุดิบเพื่อการผลิตเพื่อส่งออกต่อ
ใส่ใจสักนิด ก่อนจะคิดลงทุนหุ้นกู้เอกชน
ในภาวะที่ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปี ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 4 แห่ง ย้อนหลังในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ล้วนเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ไม่เต็มบาททั้งนั้น กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปีนั้นไม่ถึงร้อยละ 1
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้แม้ตำราการลงทุนหลายๆเล่มจะสอนให้นักลงทุน ทุกคนต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง หรืออาจจะเลือกลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงของวัฏจักร เศรษฐกิจ แต่ความเป็นจริงที่หลีกหนีไม่พ้นคือคนไทยส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยกับการฝากเงินใน ธนาคาร หรือเลือกลงทุนผ่านทางธนาคารเป็นทางเลือกหลักในการออมเงิน
ฉะนั้นในช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่เต็มบาทเช่นนี้แล้ว คนที่เคยนอนกินดอกเบี้ยเงินฝากหรือมีรายได้เสริมจากการฝากเงิน รายได้ดอกเบี้ยที่ได้มาก็แทบไม่พอจับจ่าย ด้วยเหตุนี้แล้วผู้ออมเงินหลายคนจึงหันหาทางเลือกใหม่ในการออมเงินที่ได้ อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า
ทางเลือกหนึ่งที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ออมเงิน ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา คือการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ด้วยอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนนั้นสูงกว่าการฝากเงินค่อนข้างมากทำให้ล่อ ตาล่อใจบรรดาผู้ออมเงิน แม้จะรู้ว่าการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนนั้นมีความเสี่ยงก็ตาม
การผิดนัดชำระหนี้ (Default) เป็นความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนที่คิดจะลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์การผิดนัดชำระหนี้ในหุ้นกู้เอกชนก็มีปรากฏ ขึ้นให้เห็นบ้าง เช่นกรณีของ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) ที่เดิมทีได้อันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) สูงถึง ระดับ A จู่ๆก็กลายเป็นหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ในพริบตาด้วยผลพวงของ Hamburger Crisis ที่ผ่านมา หรือจะเป็นกรณีหุ้นกู้บริษัทปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ (PICNIC) ที่เคยประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เช่นกันที่เคยสร้างปัญหาสั่นสะเทือนวงการ กองทุนรวม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกลงทุนหุ้นกู้เอกชนภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยเงินฝากไม่เต็มบาทเช่นนี้ ดูเหมือนนักลงทุนจะลดความใส่ใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุน หุ้นกู้เอกชนไปเลย โดยมองแค่ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเป็นปัจจัยหลัก สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนก็เหมือนกับนักลงทุนมีสถานะ เป็นเจ้าหนี้บริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้เหล่านั้น ฉะนั้นการจะปล่อยกู้ให้ใครสักคนเราควรจะเพิ่มความใส่ใจมากขึ้นถึงความสามารถ ในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ อย่าประมาทว่าบริษัทที่มีประวัติดี ที่เราคุ้นเคยกัน หรือมี Rating อันดับ สูงๆจะไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ได้ เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนรายย่อยคิดที่จะลงทุนในหุ้นกู้เอกชน นั้นทำได้คือ อย่างน้อยควรจะให้ความใส่ใจในการศึกษาแนวโน้มเครดิตของหุ้นกู้เอกชนที่เรา คิดจะลงทุนตรง หรือลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมหุ้นกู้เอกชน โดยข้อมูลเหล่านี้เราอาจใช้ INTERNET ในการช่วยค้นหาข้อมูล หรือ อาจจะเลือกใช้บริการของ TRIS RATING ซึ่งให้บริการวิเคราะห์และประเมินสถานะความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ สกุลเงินบาท โดยที่นักลงทุนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลแนวโน้มเครดิตผ่าน เวบไซต์ http://www.trisrating.com/en/rating_information/rating_list.html ซึ่งทาง TRIS จะมีบริการข้อมูลโดย สังเขปที่เป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนได้ศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในหุ้น กู้เอกชน สุดท้ายนี้สิ่งที่อยากฝากถึงนักลงทุนว่า “อย่าลืมเสมอว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้แม้ตำราการลงทุนหลายๆเล่มจะสอนให้นักลงทุน ทุกคนต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง หรืออาจจะเลือกลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงของวัฏจักร เศรษฐกิจ แต่ความเป็นจริงที่หลีกหนีไม่พ้นคือคนไทยส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยกับการฝากเงินใน ธนาคาร หรือเลือกลงทุนผ่านทางธนาคารเป็นทางเลือกหลักในการออมเงิน
ฉะนั้นในช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่เต็มบาทเช่นนี้แล้ว คนที่เคยนอนกินดอกเบี้ยเงินฝากหรือมีรายได้เสริมจากการฝากเงิน รายได้ดอกเบี้ยที่ได้มาก็แทบไม่พอจับจ่าย ด้วยเหตุนี้แล้วผู้ออมเงินหลายคนจึงหันหาทางเลือกใหม่ในการออมเงินที่ได้ อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า
ทางเลือกหนึ่งที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ออมเงิน ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา คือการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ด้วยอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนนั้นสูงกว่าการฝากเงินค่อนข้างมากทำให้ล่อ ตาล่อใจบรรดาผู้ออมเงิน แม้จะรู้ว่าการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนนั้นมีความเสี่ยงก็ตาม
การผิดนัดชำระหนี้ (Default) เป็นความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนที่คิดจะลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์การผิดนัดชำระหนี้ในหุ้นกู้เอกชนก็มีปรากฏ ขึ้นให้เห็นบ้าง เช่นกรณีของ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) ที่เดิมทีได้อันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) สูงถึง ระดับ A จู่ๆก็กลายเป็นหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ในพริบตาด้วยผลพวงของ Hamburger Crisis ที่ผ่านมา หรือจะเป็นกรณีหุ้นกู้บริษัทปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ (PICNIC) ที่เคยประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เช่นกันที่เคยสร้างปัญหาสั่นสะเทือนวงการ กองทุนรวม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกลงทุนหุ้นกู้เอกชนภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยเงินฝากไม่เต็มบาทเช่นนี้ ดูเหมือนนักลงทุนจะลดความใส่ใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุน หุ้นกู้เอกชนไปเลย โดยมองแค่ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเป็นปัจจัยหลัก สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนก็เหมือนกับนักลงทุนมีสถานะ เป็นเจ้าหนี้บริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้เหล่านั้น ฉะนั้นการจะปล่อยกู้ให้ใครสักคนเราควรจะเพิ่มความใส่ใจมากขึ้นถึงความสามารถ ในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ อย่าประมาทว่าบริษัทที่มีประวัติดี ที่เราคุ้นเคยกัน หรือมี Rating อันดับ สูงๆจะไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ได้ เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนรายย่อยคิดที่จะลงทุนในหุ้นกู้เอกชน นั้นทำได้คือ อย่างน้อยควรจะให้ความใส่ใจในการศึกษาแนวโน้มเครดิตของหุ้นกู้เอกชนที่เรา คิดจะลงทุนตรง หรือลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมหุ้นกู้เอกชน โดยข้อมูลเหล่านี้เราอาจใช้ INTERNET ในการช่วยค้นหาข้อมูล หรือ อาจจะเลือกใช้บริการของ TRIS RATING ซึ่งให้บริการวิเคราะห์และประเมินสถานะความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ สกุลเงินบาท โดยที่นักลงทุนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลแนวโน้มเครดิตผ่าน เวบไซต์ http://www.trisrating.com/en/rating_information/rating_list.html ซึ่งทาง TRIS จะมีบริการข้อมูลโดย สังเขปที่เป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนได้ศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในหุ้น กู้เอกชน สุดท้ายนี้สิ่งที่อยากฝากถึงนักลงทุนว่า “อย่าลืมเสมอว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
Monday, May 24, 2010
จากปัญหาการเมืองครั้งนั้นสู่ครั้งนี้
เคยคิดเล่นๆเปรียบเทียบข้อดีร้ายของปัญหาการเมืองที่ เกิดขึ้นกับไทย สองครั้งสองครา เหตุการณ์ในครั้งนี้มันบาดลึกในความรู้สึกมากกว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น
ปัญหาการเมืองในครั้งนี้ส่งผลหนักสุดคือเรื่องความเชื่อมั่นซึ่งอาจลากยาวไปที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้ แต่ถ้าฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้สำเร็จ ผลร้ายอาจไม่แรงอย่างที่ใครหลายๆฝ่ายกังวลกัน
ส่วนปัญหาการเมืองในครั้งก่อนโน้น เราถูกปิดช่องทางการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด ของจะขาย คนจะมาเที่ยว ทุกๆอย่างมันต้องผ่านสนามบินเป็นช่องทางหลัก ฉะนั้นเมื่อสนามบินถูกปิดเราจะส่งออกสินค้าและบริการอย่างไร
โดยปกติโครงสร้าง GDP ฝั่ง Demand Side ของประเทศไทย ดุลการค้าและบริการ (X-M) เป็นสิ่งที่มี contribution ต่อ GDP มากที่สุด ฉะนั้นเมื่อ X-M หายไปเกือบยกก้อนจึงมีผลรุนแรงอย่างมากต่อ GDP
เมื่อย้อนมาดูเหตุการณ์ปัญหาการเมืองในครั้งนี้ การชุมนุมที่เกิดขึ้นหรือการกระทำต่างๆของผู้ชุมนุมนั้นไม่ได้ทำลายระบบ logistic ทั้งประเทศ เพียงแต่ทำให้การขนส่งบริเวณกรุงเทพและเขตปริมณฑลบางส่วนชำรุด แต่ช่องทางส่งออกสินค้าและบริการไม่ได้ถูกปิดตายยังสามารถทำงานของมันตามกลไกได้ตามปกติ ฉะนั้นจึงมองว่าผลกระทบที่มีต่อ GDP โดยทันทีมันไม่รุนแรงกว่าเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในครั้งก่อนโน้น
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ปัญหาการเมืองในครั้งนี้มีข้อเสียมากกว่าครั้งนั้นคือ "เจ็บน้อยแต่เจ็บนาน" มากกว่าครั้งนั้นแน่นอน หากภาครัฐยังไม่สามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ฟื้นคืนมาได้
ปัญหาการเมืองในครั้งนี้ส่งผลหนักสุดคือเรื่องความเชื่อมั่นซึ่งอาจลากยาวไปที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้ แต่ถ้าฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้สำเร็จ ผลร้ายอาจไม่แรงอย่างที่ใครหลายๆฝ่ายกังวลกัน
ส่วนปัญหาการเมืองในครั้งก่อนโน้น เราถูกปิดช่องทางการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด ของจะขาย คนจะมาเที่ยว ทุกๆอย่างมันต้องผ่านสนามบินเป็นช่องทางหลัก ฉะนั้นเมื่อสนามบินถูกปิดเราจะส่งออกสินค้าและบริการอย่างไร
โดยปกติโครงสร้าง GDP ฝั่ง Demand Side ของประเทศไทย ดุลการค้าและบริการ (X-M) เป็นสิ่งที่มี contribution ต่อ GDP มากที่สุด ฉะนั้นเมื่อ X-M หายไปเกือบยกก้อนจึงมีผลรุนแรงอย่างมากต่อ GDP
เมื่อย้อนมาดูเหตุการณ์ปัญหาการเมืองในครั้งนี้ การชุมนุมที่เกิดขึ้นหรือการกระทำต่างๆของผู้ชุมนุมนั้นไม่ได้ทำลายระบบ logistic ทั้งประเทศ เพียงแต่ทำให้การขนส่งบริเวณกรุงเทพและเขตปริมณฑลบางส่วนชำรุด แต่ช่องทางส่งออกสินค้าและบริการไม่ได้ถูกปิดตายยังสามารถทำงานของมันตามกลไกได้ตามปกติ ฉะนั้นจึงมองว่าผลกระทบที่มีต่อ GDP โดยทันทีมันไม่รุนแรงกว่าเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในครั้งก่อนโน้น
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ปัญหาการเมืองในครั้งนี้มีข้อเสียมากกว่าครั้งนั้นคือ "เจ็บน้อยแต่เจ็บนาน" มากกว่าครั้งนั้นแน่นอน หากภาครัฐยังไม่สามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ฟื้นคืนมาได้
Tuesday, May 18, 2010
การเมืองมีผลต่อการจัดอันดับ credit rating ของประเทศกับของเฉพาะตัวบริษัทมากน้อยขนาดไหน
Q: การเมืองมีผลต่อการจัดอันดับ credit rating ของประเทศกับของเฉพาะตัวบริษัทมากน้อยขนาดไหนครับ ?
A:มีผลคะ ทั้งกรณี Rating ประเทศและ Rating เฉพาะตัวบางบริษัทคะ
กรณีภาครัฐ ปัญหาการเมืองหากรุนแรง จนกระทั่งยุบสภาหรือรัฐประหาร หรือกรณีใดๆที่ส่งผลให้รัฐไม่สามารถเบิกจ่ายรายจ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลทางอ้อมให้การขยายตัวเศรษฐกิจประเทศ ขาด engine สำคัญที่จะไป ดันให้โตขึ้น กอปรกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองแบบนี้ก็ส่งผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นในการลงทุนหรือการบริโภค โดยรวมคือทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้น้อยลง
เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวลดลง นั่นคือ รัฐจะพลอยจัดเก็บรายได้ จากภาคเอกชนได้ลดลงด้วย เมื่อรายได้รัฐลดลง ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ ก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน.... นี่คือกลไกอ้อมๆของ Rating และปัญหาการเมือง
กรณีเฉพาะตัวบริษัท หากปัญหาการเมืองรุนแรงมาก จนกระทั่ง Rating Agency มาrevised outlook or downgrade มักจะกระทบบริษัทในกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกับภาครัฐสูงเช่น PTT ที่มี rating ภายนอกประเทศเชื่อมโยงกับ rating ประเทศไทย หรือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่มีหุ้นกู้เสนอขายในสกุลต่างประเทศ เพราะ rating มีการเชื่อมโยงกับ rating ประเทศค่อนข้างมาก
ส่วนเคสอื่นๆก็คงขึ้นอีกว่า ปัญหาการเมืองไปกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั่วไปของบริษัทเหล่านี้อย่างไร... หากกระทบต่อรายได้ของบริษัท หรืออันจะส่งผลให้ ความสามารถชำระหนี้บริษัทลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เคสนั้นก็คงมี rating มาเตือนบ้าง... (แต่จริงๆ ยังไม่เคยเห็นเท่าไหร่นะ มีแต่พวก การเมืองไม่ดี ผ่านไปราวๆสองสามไตรมาส พวก rating agency ออกมาเตือนหลังเห็นงบ)
A:มีผลคะ ทั้งกรณี Rating ประเทศและ Rating เฉพาะตัวบางบริษัทคะ
กรณีภาครัฐ ปัญหาการเมืองหากรุนแรง จนกระทั่งยุบสภาหรือรัฐประหาร หรือกรณีใดๆที่ส่งผลให้รัฐไม่สามารถเบิกจ่ายรายจ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลทางอ้อมให้การขยายตัวเศรษฐกิจประเทศ ขาด engine สำคัญที่จะไป ดันให้โตขึ้น กอปรกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองแบบนี้ก็ส่งผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นในการลงทุนหรือการบริโภค โดยรวมคือทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้น้อยลง
เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวลดลง นั่นคือ รัฐจะพลอยจัดเก็บรายได้ จากภาคเอกชนได้ลดลงด้วย เมื่อรายได้รัฐลดลง ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ ก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน.... นี่คือกลไกอ้อมๆของ Rating และปัญหาการเมือง
กรณีเฉพาะตัวบริษัท หากปัญหาการเมืองรุนแรงมาก จนกระทั่ง Rating Agency มาrevised outlook or downgrade มักจะกระทบบริษัทในกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกับภาครัฐสูงเช่น PTT ที่มี rating ภายนอกประเทศเชื่อมโยงกับ rating ประเทศไทย หรือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่มีหุ้นกู้เสนอขายในสกุลต่างประเทศ เพราะ rating มีการเชื่อมโยงกับ rating ประเทศค่อนข้างมาก
ส่วนเคสอื่นๆก็คงขึ้นอีกว่า ปัญหาการเมืองไปกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั่วไปของบริษัทเหล่านี้อย่างไร... หากกระทบต่อรายได้ของบริษัท หรืออันจะส่งผลให้ ความสามารถชำระหนี้บริษัทลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เคสนั้นก็คงมี rating มาเตือนบ้าง... (แต่จริงๆ ยังไม่เคยเห็นเท่าไหร่นะ มีแต่พวก การเมืองไม่ดี ผ่านไปราวๆสองสามไตรมาส พวก rating agency ออกมาเตือนหลังเห็นงบ)
Saturday, May 8, 2010
ฟองสบู่ในตลาดพันธบัตรรัฐบาล (Bond Bubble Blast): กรณีศึกษาตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทย
ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2553 เป็นต้นมา จนถึงช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดคงหนี้ไม่พ้นวิกฤติการณ์หนี้ในสหภาพยุโรป วิกฤติในครั้งล่าสุดหลายฝ่ายต่างกังวลว่าความเป็นตลาดเดียวของสหภาพยุโรป ที่แต่ละประเทศสมาชิกต่างมีสถานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกันจะพลอยทำให้วิกฤติการณ์ครั้งนี้ลุกลามไปทั่วภูมิภาคและลุกลามไปยังภาคส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจโลก
จากวิกฤติหนี้ครั้งล่าสุดที่เกิดในสหภาพยุโรปนำมาสู่การทบทวนบทเรียนเดิมๆ สมัย Tequila crisis ในแถบ Latin America ถึงปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และนำมาสู่ความกังวลที่ว่า “เราประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไปหรือเปล่าจากการดำเนินนโยบายขาดดุลและการก่อหนี้ของภาครัฐ?”
เมื่อความกังวลข้างต้นเกิด ก็เริ่มมีบางกระแสเชื่อว่า วิกฤติการณ์ครั้งนี้เป็นลางบอกเหตุเบื้องต้นของ ฟองสบู่ ของตลาดพันธบัตรรัฐบาลที่กำลัง จะแตกในเร็วๆนี้ เพราะตั้งแต่ Hamburger crisis ในสหรัฐฯเกิดขึ้นในปี 2551 นานาประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากกว่าปกติด้วยการดำรงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเป็นประวัติการณ์รวมถึงภาครัฐต้องอัดฉีดระบบเศรษฐกิจด้วยการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังครั้งมโหฬารผ่านการออกพันธบัตร จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์จึงทำให้เงินออมในระบบส่วนใหญ่วิ่งเข้าสู่ตลาดพันธบัตร ฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาครัฐจะทำให้เกิดแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลออกมาอย่างรุนแรงมากปกติเพราะตลาดพันธบัตรรัฐบาลเป็นแหล่งพักเงินออมที่สำคัญที่สุดในรอบวิกฤติการณ์การเงินที่ผ่านมา
จากกระแสความเชื่อเรื่องฟองสบู่แตกในตลาดพันธบัตรรัฐบาล นำคำถามมาสู่ตัวผู้เขียนให้ขบคิดว่า “มีโอกาสมากน้อยเพียงไร ที่จะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกในตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทย?”
ด้วยผลพวงของ Hamburger crisis ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และได้ลุกลามไปยังภาคการเงินทั่วโลก ประเทศไทยก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้ด้วยเช่นกัน โดยประเทศไทยเลือกที่จะแก้ไขผลของปัญหาดังกล่าว ด้วยการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากกว่าปกติและการดำเนินนโยบายขาดดุลการคลังเฉกเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน การดำเนินนโยบายการคลังของประเทศไทยเน้นดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเป็นส่วนใหญ่แถมทั้งมีการขออนุมัติออกพระราชกำหนดและพระราช บัญญัติกู้เงินรวมทั้งสิ้น 8แสนล้าน เพื่อดำเนินการโครงการที่ชื่อว่า "ไทยเข้มแข็ง" (ภายหลังได้มีการยกเลิกการออกพระราชบัญญัติเงินกู้ยืม 400,000 ล้านบาท ภายหลังที่ภาครัฐจัดเก็บรายได้ ได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงทำให้ความต้องการกู้เงินลดลง เนื่องจากมีรายได้เพียงพอ
จากข้อมูลข้างต้นเราพบว่า Loan Bond และ Saving Bond เป็นแหล่งเงินกู้ที่สำคัญของภาครัฐ นอกเหนือจากนี้ ด้วยข้อจำกัดของตลาดรองพันธบัตรในประเทศไทยที่มีการเข้าถึงตลาดของนักลงทุนรายย่อยค่อนข้างจำกัด ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ถือครอง Saving Bond มักจะถือครองจนกระทั่งตราสารนั้นครบอายุโดยไม่มีการออกนำมาขายคืนในตลาดรอง ฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาครัฐเราอาจจะไม่เห็นแรงเทขายพันธบัตรออมทรัพย์ออกมามากนัก เมื่อเทียบกับการที่รัฐเลือกกู้เงินทั้งจำนวนผ่านพันธบัตรประเภท Loan Bond เพียงอย่างเดียว
แม้ Loan Bond มีโอกาสที่จะเผชิญความผันผวนสูงจากการเทขายของนักลงทุนหากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศไทย แต่ด้วยโครงสร้างนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในช่วงวิกฤติการเงินที่ผ่านมา ทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นไม่ง่ายนักในตลาดตราสารหนี้ไทย
ในช่วงเวลาแห่งวิกฤติ ประเทศไทยมีการดำเนินนโยบายขาดดุลการคลังเฉกเช่นประเทศอื่นๆ โดยโครงสร้างการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภท Loan Bond มีข้อมูลดังตารางข้างล่างนี้
จากตารางข้างต้นพบว่า เกือบกึ่งหนึ่งของพันธบัตรรัฐบาล ที่เสนอขายทั้งหมดล้วนเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอายุตั้งแต่ 10ปี เป็นต้นไป ซึ่งพันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มนักลงทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่สอดคล้องกับภาระทางการเงินของตนอย่างเช่นกลุ่ม ประกันชีวิต
ส่วนนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นกับตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะหลังคือ นักลงทุนกลุ่มที่ไม่ได้มีถิ่นฐานในประเทศไทยหรือนักลงทุนต่างชาติ ในระหว่างปี 2552 – 2553 พบว่าสัดส่วน Participation ของนักลงทุนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมากจากระดับราวๆร้อยละ 1-2 สู่ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 8-9 แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าไม่ใช่ระดับที่สูงมากนักเมือเทียบกับนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ ฉะนั้นหากนักลงทุนกลุ่มนี้มีการเทขายตามความกังวลใดๆก็ตาม อาจส่งผลลบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยในเชิงของ Sentiment แต่ไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ภาวะ Bubble Blast เกิดขึ้นกับตลาดตราสารหนี้ไทยอย่างแน่นอน
Subscribe to:
Posts (Atom)