Monday, January 7, 2013

ตลาดชายขอบ (Frontier Market) ดาวรุ่งดวงใหม่ในการลงทุน?


ช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนมากมายทั่วโลกในฐานะโอกาสใหม่แห่งการลงทุนด้วยศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันนักลงทุนบางกลุ่มก็เริ่มมองว่า Valuation ของตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ถูกซื้อขายในราคาที่แพงเกินไปจนเริ่มลดระดับความน่าสนใจลง

ยิ่งไปกว่านั้นโครงสร้างรายได้ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ส่วนใหญ่นั้นมักพึ่งพิงการส่งออกวัตถุดิบหรือส่งออกต่อสินค้าไปยังประเทศซีกโลกตะวันตก ซึ่งในปัจจุบันประเทศคู่ค้าหลักของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เหล่านี้ต่างเผชิญปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหดตัวลงในบางประเทศอันเป็นผลให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ยากที่จะเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการค้าระหว่างประเทศเหมือนที่เคยปฏิบัติมาในอดีต

ด้วยมูลค่าการซื้อขายในตลาดเกิดใหม่ที่เริ่มแพงและโอกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลง นักลงทุนบางส่วนจึงเริ่มแสวงหาโอกาสลงทุนใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งการลงทุนในตลาดชายขอบ (Frontier Market) ที่เคยถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากในอดีตก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกใหม่ในการลงทุนของคนกลุ่มนั้น 

ตลาดชายขอบ (Frontier Market) เป็นนิยามที่ถูกใช้สำหรับประเทศที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่และมีตลาดทุนที่ยังด้อยการพัฒนา (ตลาดทุนที่มีขนาดเล็กและสภาพคล่องต่ำ) แต่มีสถานภาพเศรษฐกิจและการเมืองที่ดีกว่า “ประเทศรัฐล้มละลาย (Failed states)[1]” ประเทศตลาดชายขอบ (Frontier Market) ประกอบด้วย 26 ประเทศ ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณทวีปเอเซีย, เอเซียตะวันออก, ยุโรปตะวันออก, แอฟริกา และ ละตินอเมริกา ตัวอย่างประเทศที่บรรดานักลงทุนจัดอยู่ในประเทศตลาดชายขอบ (Frontier Market) เช่น พม่า, ลาว, เวียดนาม, มองโกเลีย, คาซัคสถาน, ไนจีเรีย เป็นต้น

ตลาดชายขอบ (Frontier Market) อยู่ในช่วงต้นของการพัฒนาจึงมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง เนื่องด้วยบางประเทศสงครามการเมืองเพิ่งสงบลง ประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายกับความผันผวนทางการเมืองจึงพร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกประเทศเพื่อให้คุณภาพชีวิตของตนเองดีขึ้น หรือบางประเทศในกลุ่มนี้ก็มีโครงสร้างประชากรวัยหนุ่มสาวที่อยู่ในกำลังแรงงาน (Labour Force) ค่อนข้างมากจึงเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กอปรกับขนาดตลาดทุนที่ค่อนข้างเล็กหรือยังด้อยระดับการพัฒนา มีแหล่งกู้เงินค่อนข้างน้อย ประเทศเหล่านี้จึงมีอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติ (Debt to GDP) ค่อนข้างต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นตลาดชายขอบ (Frontier Market) มักมี correlation ต่ำ กับประเทศตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Market) และประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)  จึงให้ประโยชน์ด้านกระจายความเสี่ยงแก่พอร์ตลงทุนภายใต้ความผันผวนในตลาดทุนโลกที่มีค่อนข้างสูงในปัจจุบัน

โดยสรุป การลงทุนในตลาดชายขอบ (Frontier Market) แม้จะให้อัตราผลตอบแทนที่สูงจนน่าเย้ายวน แต่นักลงทุนต้องเผชิญความเสี่ยงหลากหลายประการอาทิเช่น การขาดความโปร่งใส, ข้อจำกัดของสภาพคล่อง, ความผันผวนทางสังคมและการเมือง ตลอดจนความไร้เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน นักลงทุนจึงต้องลงทุนในตลาดนี้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะตลาดชายขอบ (Frontier Market) มีขนาดค่อนข้างเล็ก มีสภาพคล่องต่ำกว่าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และอาจมีความเสี่ยงสูญในการสูญเสียเงินต้นได้


[1]ประเทศรัฐล้มละลาย (Failed states) ” คือ รัฐที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้

Thursday, June 23, 2011

กรีซ : โปรดจงตัดสินใจ


เดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ราคาดัชนีหลักทรัพย์ทั่วโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ล้วนปรับตัวดิ่งลง ด้วยความกังวล 2 ประการที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินโลกคือ
1.       การประเมินว่าภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ช้ากว่าที่หวังไว้ ของ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ Ben Bernanke ทำให้ตลาดผิดหวังและคลางแคลงใจถึงความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการ QE2 และ กังวลถึงโอกาสในการต่อมาตรการ QE ระลอกที่ 3
2.       เหตุวิตกโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศกรีซ (Greece Default)
แต่ถ้าพิจารณาตามระดับความกังวลจะพบว่า วิกฤติกรีซนั้นครอบงำตลาดทั่วโลก ทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง และทำให้เงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลง ในขณะเดียวกันก็ฉุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ดิ่งลง
วิกฤติกรีซ ยิ่งทวีระดับความรุนแรงมากขึ้น จาก ปัญหา”การตัดสินใจทางการเมือง”(Political Decision) ของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย ทั้งตัวกรีซในฐานะลูกหนี้, ประเทศเจ้าหนี้
ประเทศลูกหนี้ : สิ่งที่รัฐบาลกรีซต้องเลือกตัดสินใจคือ 1) เลือกเข้าร่วมแผนรัดเข็มขัด (austerity measures) แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) รวมถึงการให้ภาคเอกชนกรีซสมัครใจช่วย Roll-Over หนี้ภาครัฐหรือพันธบัตรรัฐบาลกรีซในกรณีที่ครบกำหนดอายุ (Mature) หรือ 2) เลือกที่จะอยู่เฉยๆปล่อยให้การผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น
·            หากกรีซเลือกที่จะเข้าร่วมแผนที่บรรดาประเทศเจ้าหนี้และ IMF เสนอ สิ่งที่อาจจะเกิดคือ กรีซอาจจะได้รับวงเงินช่วยเหลือต่อเนื่อง โดยที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่เจ้าหนี้เสนออย่างเคร่งครัด แต่ต้นทุนที่เกิดคือการแลกด้วยความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นของชาวกรีก เพราะสหภาพยุโรปมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นรัฐสวัสดิการที่มีการเก็บอัตราภาษีส่วนบุคคลค่อนข้างสูง แต่ประชาชนก็ได้รับสวัสดิการทางสังคมเป็นการตอบแทนจากรัฐหลายอย่าง ฉะนั้นการดำเนินตามแผนที่บรรดาเจ้าหนี้เสนอ จะส่งผลให้ชาวกรีกอาจจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสวัสดิการที่เคยได้รับจากรัฐลดน้อยลง ซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจะนำไปสู่อนาคตทางการเมืองที่สั่นคลอนของพรรครัฐบาลชุดปัจจุบัน
·             หากกรีซตัดสินใจที่จะไม่ทำอะไรเลย หรือปล่อยให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ (default) เสมือนการล้มลงบนฟูก ต้นทุนที่กรีซต้องเผชิญในกรณีนี้คือ ระบบธนาคารพาณิชย์ของกรีซจะประสบวิกฤตปัญหาสภาพคล่อง เพราะพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่บรรดาธนาคารพาณิชย์กรีซถือครองจะไม่อาจวางเป็นหลักประกันสภาพคล่องกับธนาคารกลางยุโรปได้อีกต่อไป ทำให้บรรดาธนาคารต้องประสบปัญหาการเพิ่มทุน และเลวร้ายที่สุดคือ หากประชาชนกังวลว่าธนาคารจะล้มแล้วแห่ถอนเงินฝากก็จะทำให้วิกฤติกรีซเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นไปอีก ซึ่งสุดท้ายนำมาสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศกรีซอย่างแน่นอน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจก็ไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลพึงปรารถนาด้วยเช่นกัน
ประเทศเจ้าหนี้ : รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ต้องตัดสินใจระหว่างการช่วยเหลือ หรือ การไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆเลย
1.       สำหรับกรณีแรก รัฐบาลจะเจอแรงกดดันจากประชาชนภายในประเทศของตนเอง เพราะ คนเหล่านี้คิดว่าเป็นการไม่สมควรที่รัฐบาลของตนจะใช้เงินภาษีประชาชนไปให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศลูกหนี้ที่ไม่มีวินัยอย่างกรีซ
2.       สำหรับกรณีหลัง หากบรรดาประเทศเจ้าหนี้ตัดสินใจไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินใดๆต่อกรีซ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ
o   การลุกลามของปัญหาสภาพคล่องที่ตึงตัวจากระบบธนาคารพาณิชย์สหภาพยุโรป สู่ ตลาดการเงินโลก เพราะผู้ให้กู้ในตลาด EURO Interbank ต่างฝ่ายอาจไม่มั่นใจในสถานภาพทางการเงินของ Counterparty ฝ่ายตรงข้าม เป็นเหตุให้เกิดการตึงตัวในตลาด Interbank
o   เป็นเหตุให้เงินกู้ในตลาด Interbank ตึง สุดท้ายบรรดาธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) ต้องมาอัดฉีดสภาพคล่องสู่ตลาด Interbank
o   การที่สหภาพยุโรปปล่อยให้ กรีซ ล้ม หรือ เกิดการผิดนัดชำระหนี้ อาจเป็นสาเหตุให้ตลาดเพิ่มความกังวลว่า แล้วประเทศที่เหลือในกลุ่ม PIGS อย่าง โปรตุเกส, ไอรแลนด์ และ สเปนนั้น จะมีโอกาสที่สหภาพยุโรปจะปล่อยให้ประเทศเหล่านี้เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกันกับกรีซหรือไม่ ความกังวลดังกล่าวจะส่งผ่านการเทขายพันธบัตรประเทศเหล่านั้น bond yields จึงปรับสูงขึ้นและอาจเป็นเหตุให้การ Roll-Over หนี้ ณ เมื่อครบกำหนดทำได้ลำบากขึ้น เพราะตลาดต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงเกินกว่าประเทศเหล่านี้จะมีกำลังจ่ายได้ ซึ่งอาจเป็นการบีบให้ประเทศเหล่านี้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ทางอ้อม ทั้งๆที่สถานการณ์วิกฤติหนี้ของประเทศนั้นอาจจะยังไม่เลวร้ายเท่ากรีซ
o   การที่ประเทศที่เหลือในกลุ่ม PIGS ถูกคาดการณ์โดยตลาดถึงโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้น ภายหลังที่การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ อาจส่งผลให้บริษัท Credit Rating อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่ออกโดยรัฐบาล หรือภาคเอกชนที่มี exposure บนประเทศที่เหลือเหล่านี้ค่อนข้างมาก ซึ่งการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือกรณีที่ตลาดปรับมุมมองถึงโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าตลาดของตราสารหนี้นั้นๆปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากรายงานของ BANK FOR INTERNATIONAL SETTLEMENTS (BIS) พบว่ากองทุนรวมตลาดเงินของสหรัฐฯมีการถือครองตราสารหนี้ระยะสั้นออกโดยธนาคารพาณิชย์ยุโรปค่อนข้างมาก ดังนั้นมูลค่าตราสารที่ถือครองปรับลดลงอย่างเร็วอาจก่อให้เกิดปัญหา Breaking The Buck คือ NAV ของกองทุนรวมตลาดเงินติดลบ และเลวร้ายที่สุดคือหากกองทุนเหล่านี้ถูกไถ่ถอนกองทุนจากความกังวลของนักลงทุน หรือจนเป็นเหตุให้กองทุนเหล่านี้ตัดสินใจไม่ roll over ตราสาร ก็จะยิ่งทวีสถานการณ์การขาดสภาพคล่องในตลาดเงินยุโรปให้เพิ่มขึ้นมากอีก
o   ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงสหภาพยุโรปเท่านั้นแต่อาจลุกลามไปถึงระบบตลาดการเงินในสหรัฐได้ เพราะบรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นมีบทบาทสำคัญในการออกตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงของเครดิตประเทศกรีซ (Credit Default Swap) ฉะนั้นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นทำให้บรรดาสถาบันการเงินที่ออก CDS ก็มีภาระการชดใช้หนี้ดังกล่าวและอาจก่อให้เกิดการขาดสภาพคล่องสืบเนื่องได้เช่นกัน
จากความเห็นข้างต้นผู้เขียนมองว่าวิกฤติหนี้กรีซครั้งนี้ การเมืองภายในประเทศของเจ้าหนี้และประเทศลูกหนี้ล้วนมีบทบาททำให้สถานการณ์ทวีความเลวร้ายยิ่งขึ้น แต่สุดท้ายหากการตัดสินใจจะต้องเกิดขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่าทางที่แต่ละฝ่ายเลือกก็ควรจะเป็นทางที่เกิดต้นทุนต่อประเทศนั้นต่ำที่สุด คิอ ในแง่ของเจ้าหนี้คงยอมให้เงื่อนไขการ Default ตามนิยามปกติ trigger ไม่ได้ เพราะหากปล่อยให้เกิดขึ้นผลที่ตามมาจะสร้างต้นทุนใหญ่หลวงมากกว่าที่ต้องไป bail out หนี้กรีซเสียอีก ส่วนด้านลูกหนี้เรามองว่าทางที่เกิดต้นทุนต่ำสุดต่อประเทศกรีซเองคือเลือกทำตามเงื่อนไขที่เจ้าหนี้เสนอ แต่อย่างไรก็ตามมันก็มี Probability บ้างเล็กน้อย ที่กรีซอาจไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เบื้องต้นกับเจ้าหนี้ภายหลังที่ได้รับการ bail out แล้ว เพราะในฐานะลูกหนี้อาจมองว่าการผิดนัดชำระหนี้ของตนยังสร้างต้นทุนความเสียหายที่สูงมากแก่ประเทศเจ้าหนี้ในช่วงแรกๆ ฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตามเจ้าหนี้ต้องเข้ามาช่วยอุ้มกรีซเสมอโดยไม่ปล่อยให้กรีซ Default เสมือนเหตุการณ์การปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ล้มไม่ได้ (Too Big To Fail) แต่เหตุการณ์นี้จะไม่เป็นใน Period หลังๆ เพราะตอนนั้นประเทศเจ้าหนี้อาจจะมองว่าระบบธนาคารพาณิชย์ของตนแข็งแรงเพียงพอ จึงไม่มีความจำเป็นต้องยื่นมือไปช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซอีกต่อไป

Thursday, December 30, 2010

เกษียณสุขกับฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ (Happy Retirement with Bubblicious Asset Price)

       มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมเป็นผู้กลัวความเสี่ยง (Risk Aversion) กล่าวคือ มัก “ลงทุน หรือ พัก” เงินก้อนใหญ่ของตนไว้ใน “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัญชีเงินฝากประจำ, กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ ตราสารหนี้ภาครัฐฯ” ภายใต้ความเข้าใจว่าสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ล้วนปลอดภัย มั่นคง และสามารถรักษาเงินต้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่คนโดยทั่วไปลืมคิดถึงคือ ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเข้า ความปลอดภัยจากการลงทุนในรูปแบบนี้จะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีต่อการเกษียณของตนเอง
ตาราง : เกณฑ์มาตรฐานในการใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ (Benchmark)

ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

        จากตารางข้างต้น ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ หรือ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นๆ ให้อัตราผลตอบแทนเพียงประมาณ 1.00% เท่านั้น ซึ่งผลตอบแทนเพียงแค่นี้บนเงินออมยามเกษียณ อาจพอเพียงแค่ค่าอาหารธรรมดาๆ 3 มื้อต่อวันเท่านั้น หรือลองสมมติยืดอายุการลงทุนหรือการฝากเงินให้ยาวขึ้นกว่านี้หน่อย เช่น จากฝากเงิน/ลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ 3 เดือน เป็นเทอม 1 ปี ก็จะพบว่าได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น แต่ผลตอบแทนดังกล่าวก็ยังไม่พอเพียงต่อบรรดาค่าใช้จ่ายปัจจัยสี่ที่ต้องใช้ยามหลังเกษียณอายุ
            อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันว่า อายุขัยเฉลี่ยของคนเรามีแนวโน้มจะยืนยาวมากขึ้น อันจะสังเกตได้จากตารางชีพสถิติประกันภัย (Life Expectancy Table) ที่ใช้ในธุรกิจประกันชีวิต มีช่วงอายุขัยเฉลี่ยที่ยาวมากขึ้น ด้วยอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่าคนวัยทำงาน (Non-Retirees) ควรต้องให้ความสำคัญต่อการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ (Investing Efficiently) ควรจำเป็นต้องมีมากขึ้น
          สิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ คือ “ขนาดเดียวใช้ได้หมด (One Size Fit All)” ซึ่งในความเป็นจริงมักไม่เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น มันเป็นการไม่เหมาะสมที่คนหนุ่มสาววัยเริ่มทำงาน จะมีพฤติกรรมการลงทุนเฉกเช่นคนชรา คือ เน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำหรือมีความเสี่ยงต่ำเพื่อที่รักษาเงินต้น การลงทุนที่ดีควรจะคำนึงถึงอายุของผู้ลงทุน, วัตถุประสงค์การลงทุน, ข้อจำกัดการลงทุนผนวกรวมไปกับความเสี่ยงในการลงทุนเข้าไปด้วยกัน
        นอกเหนือจากนี้ นักลงทุนมักไม่ค่อยระแวดระวังว่าตัวเองกำลังผจญกับความเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว หรือลืมคิดว่า “ที่ๆปลอดภัยที่สุด คือที่ๆอันตรายมากที่สุดด้วยเช่นกัน” เช่น การที่ทุกคนในตลาดการเงินล้วนคิดคล้ายๆกันว่าการลงทุนในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นปลอดภัย อีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มความเสี่ยงให้กับการลงทุนโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่น คนส่วนใหญ่เชื่อว่าตราสารหนี้ภาครัฐนั้นเป็นแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยที่สุด (Safe-Haven) นั่นก็อาจเป็นที่ๆอันตรายที่สุด (ในแง่ความเสี่ยง) ด้วยเช่นกัน เพราะการที่ทุกคนมี อุปสงค์ (Demand) ในการลงทุนตราสารทางการเงินใดมากเป็นพิเศษจะผลักดันให้ราคาของตราสารนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนนั้นจะลดน้อยถอยลงด้วยเช่นกัน เราสามารถพูดได้ว่ามีโอกาสสูงที่ราคาตราสารนั้นกำลังตกอยู่ในภาวะฟองสบู่พร้อมที่จะแตกโพละได้ตลอดเวลา ฉะนั้นนักลงทุนที่รู้รอบควรจะหลีกเลี่ยงกับการลงทุนในตราสารประเภทดังกล่าวนี้
        เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ, การฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ อาจเป็นทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยและดีที่สุดสำหรับการรักษาเงินต้นให้เพียงพอค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของคนที่พ้นวัยทำงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณยังอยู่ในวัยทำงานและไม่ต้องการชีวิตหลังเกษียณที่ลำบากยากเข็ญมากนัก เป้าหมายการลงทุนของคุณควรถอยฉากจากสินทรัพย์ที่เผชิญภาวะฟองสบู่และเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากขึ้นเพื่อเป้าหมายการเกษียณสุขในระยะยาว
ที่มา : On Bond Bubbles and Retirement โดย Wade Slome

Wednesday, October 20, 2010

ยุทธการเงินตรา (Currency Battle)


ปี 2010 ในช่วงเวลาคนส่วนใหญ่ต่างดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขไร้ซึ่งความขัดแย้งใดๆระหว่างชาติพันธุ์, ดินแดน หรือกลุ่มศาสนา ในช่วงเวลาแห่งความสงบสุขนั้นเอง 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจกำลังเพาะบ่มปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศจนขยายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศและก่อให้เกิดสงครามเงินตราทั่วโลกในช่วงเวลาถัดมา
มูลเหตุแห่งปัญหา : เป้าหมายที่แตกต่าง
·     สหรัฐอเมริกา : สิ่งที่สหรัฐฯกำลังดำเนินการ ณ เวลาปัจจุบัน คือ การเลือกขยายระยะเวลาที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเกินกว่าระดับปกติ (Quantitative Easing Monetary Policy) ต่อไปเพื่อมุ่งหวังที่จะป้องกันปัญหาเงินฝืด (Deflation) ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งผลสืบเนื่องของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจผ่อนคลายมากกว่าปกติก็คือ การอ่อนค่าอย่างมากของเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามผลของการที่สหรัฐฯเลือกดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากกว่าปกติ (Quantitative Easing) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้มีผลจำกัดเพียงแต่ภายในสหรัฐฯเท่านั้น แต่มีผลขจรขจายไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งผลนั้นอาจถูกตีความได้ทั้งแง่บวกและลบต่อเศรษฐกิจโลกคือ มุ่งหวังให้ดุลการค้าสหรัฐฯขาดดุลลดน้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแรงมากขึ้นก็เป็นการเพิ่มอุปสงค์มวลรวมของเศรษฐกิจโลกด้วย
·      จีน : ในกรณีของประเทศจีนสถานการณ์นั้นแตกต่างกับสหรัฐฯอย่างสุดขั้ว จีนไม่มีความจำเป็นที่ต้องต่อสู้กับปัญหาเงินฝืด แต่สิ่งที่จีนพยายามต่อสู้และป้องกันคือ ปัญหาเงินเฟ้อ (Inflation)” ที่อาจเกิดจากการขยายตัวอย่างร้อนแรงมากเกินไปของเศรษฐกิจจีน และในขณะเดียวกันก็พยายามรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวภายในกรอบแคบๆและมีมูลค่าอ่อนค่ามากกว่าความเป็นจริง (Undervaluation) ด้วย การที่จีนสามารถเลือกให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามากกว่ามูลค่าที่แท้จริงสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อ Impossible Trinity” เพราะจีนเลือกที่จะคุมการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศผ่านตลาดสินทรัพย์ทางการเงิน (Capital Control in Financial Asset Market) จึงสามารถกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอิสระต่อนโยบายการเงินภายในประเทศได้ ด้วยการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Tightening Monetary Policy) เพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อนั้น มีผลรวมต่อเศรษฐกิจโลกคือ ลดอุปสงค์มวลรวมของเศรษฐกิจโลก
จากข้อมูลข้างต้นเราพบว่า 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างเผชิญเป้าหมายที่แตกต่างกันสุดขั้ว จึงทำให้แนวนโยบายที่แต่ละฝ่ายเลือกดำเนินการนั้นขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงและไม่สามารถเติมเต็มความต้องการของแต่ละฝ่ายได้ ความขัดแย้งในนโยบายเศรษฐกิจนี้ได้ก่อกำเนิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบ : ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ด้วยการดำเนินมาตรการ Quantitative Easing ของสหรัฐ ทำให้เงินดอลลาร์จำนวนมหาศาลถูกอัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินโลก และโดยธรรมชาติ เงินทุนเหล่านี้พยายามวิ่งเข้าหาแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง ฉะนั้นเราจึงเห็นเงินทุนจำนวนมหาศาลเลือกไหลเข้าประเทศที่มีเสรีในการเข้าออกของเงินทุน (Free Capital Mobility) และให้อัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ หรืออัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการถือครองสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์โดยเปรียบ
จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging Market ที่สามารถฟื้นตัวได้ไวหลัง Financial Crisis ปี 2008 ทำให้ประเทศเหล่านี้มีเงินทุนไหลเข้ามามาก ด้วยปริมาณดอลลาร์ในระบบที่ถูกอัดฉีดในปริมาณที่มากกว่าปกติจึงทำให้ค่าเงินของบรรดาประเทศ Emerging Market แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าผู้ที่มีรายได้จากการค้าขายระหว่างประเทศจะปรับตัวตามได้ทัน
การบรรเทาผลกระทบ : การเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บ
ตราบใดที่เงินดอลลาร์ยังถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเรื่อยๆ มันก็เป็นการยากที่จะทำให้ค่าเงินของประเทศ Emerging Market อ่อนค่าลงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออก เพราะการจะแทรกแซงเงินทุนจำนวนมหาศาลได้สำเร็จนั้นหมายความว่าประเทศที่เข้าแทรกแซงจะต้องมีเงินทุนจำนวนมหึมาด้วยเช่นกันหรือมีกำแพง (Capital Control) ที่แข็งแรงเพียงพอที่กั้นไม่ให้เงินทุนภายนอกสามารถหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างรวดเร็วได้
ด้วยความสามารถในควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดของประเทศ Emerging Market สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ควรทำในยามที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมหาศาลนี้คือ
·      เยียวยาผู้ที่ทำการค้าระหว่างประเทศด้วยการหามาตรการเสริมเพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินการธุรกิจ ให้อย่างน้อยผู้ที่ทำการค้าระหว่างประเทศพอที่จะรักษาส่วนต่างระหว่างรายรับและต้นทุนไว้ไม่ให้ลดลงไปมากหลังจากที่รายรับลดลงจากการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศนั้นๆ
·      ภาครัฐต้องพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการเร่งขยายการลงทุนทั้งภาคเอกชนผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนหรือการลงทุนโดยตรงของภาครัฐเอง เพราะการนำเข้าต้นทุน วัตถุดิบ หรือสินค้าทุนในช่วงเวลาค่าเงินแข็งจะได้ราคาที่ถูกกว่าปกติ ในขณะเดียวกันการนำเข้ามากๆส่งผลให้ดุลการค้าที่เคยเกินดุลปรับตัวแคบลงส่งผลให้ช่วยชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้บ้าง


  บทสรุป : จุดจบของยุทธการ
เนื่องด้วยเป้าหมายของ 2 ประเทศมหาอำนาจยังไม่สามารถบรรจบกันได้ ทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีสภาพที่ไร้ความสมดุลหรือมี Shortfall เกิดขึ้น ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงของบรรดาประเทศเล็กๆที่ต้องเตรียมรับมือและแก้ทางกับปัญหากระแสเงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าประเทศตราบใดที่ข้อขัดแย้งด้านอัตราแลกเปลี่ยนของทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจยังคงดำรงอยู่ต่อไป

Thursday, September 30, 2010

Pimco eyes growth in active equity, Asian bonds

The firm is hiring portfolio managers with active equity experience to focus on emerging markets, and is seeking to create a product to cater to rising global demand for local currency Asian bonds.

By Leigh Powell | 28 September 2010
Keywords: pimco | active equity | brian baker
Pimco is strategically hiring portfolio managers with active equity experience and is busy building a product to meet growing international demand for Asian bonds.
To date the firm has focused on hiring in New York and London, but Brian Baker, CEO and director of Pimco Asia, foresees that equity investment specialists will be placed in Asia at some point.
Pimco added active equity investing to its range of services in March this year. It has a global equity product and is in the process of developing an emerging market equity product.
“The focus of our active equity product development will be in areas we think investors need to look at in the ‘new normal’,” he explains. “Our focus is going to be more on global equity markets and emerging equity markets, and less so on the US market.”
According to Baker, Pimco Asia manages over $30 billion in assets for more than 100 clients in the region out of a global AUM total of $1.1 trillion. Outside of fixed income, it has a complex of global macro-focused hedge funds, and invests in real estate and distressed private equity opportunities. It also invests in both passively and actively managed exchange-traded funds (ETFs).
Baker says the group manages over $15 billion in enhanced equity products – or passive exposure to an equity index through derivatives – but opted to move into active equities in response to client requests.
Pimco Asia also sees increasing demand both regionally and globally for exposure to Asian bond markets and Baker confirms it is looking to establish a product to meet this demand. “We continue to see greater interest in Asian local currency bonds globally,” he says.
“If you look at the historical allocation of a pension plan in the US, they have had roughly 3-5% of their exposure to emerging markets. That is significantly underweight relative to the emerging markets contribution to GDP. So we think that will be reweighted.”
Baker is anticipating rapid development of Asia’s local bond markets as countries come to the realisation that they need to develop domestic demand. This will lead to wealth creation, which will require better means for savers to invest their wealth.
“I think because of regulatory uncertainty overseas, more and more companies will want to raise capital locally, and if your expansion is going to be geared towards the domestic market, you would be borrowing in local currency to build factories, buy equipment for domestic production,” he notes.
Lack of liquidity and access to individual markets are two challenges that Pimco Asia faces. Baker notes that the firm is discussing the benefits of applying for a qualified foreign institutional investor (QFII) licence for China, but that no timeframe has been established on a decision.
The market for local currency bonds in Asia ex-Japan has grown from $68 billion in 2004 from 878 issues to $273 billion via 1,562 issues in 2009, according to data provider Dealogic. Already in 2010 local currency bonds have raised $263 billion via 1,954 issues.
China’s tally has risen from 17 issues in 2004 worth $13.1 billion to 284 issues worth over $159 billion in 2009. Already in 2010 China has seen 280 local currency bond issues worth a total of $159.3 billion.
China made up 1.93% of the Asia ex-Japan total in issuance in 2004 and 19% in value. By the end of last year the percentages stood at 18% for issuance and 58% for value.
Pimco Asia is the regional business of Pimco Group, one of the largest bond managers in the world which was widely credited for foreseeing the US housing crisis. It positioned for a steepening yield curve and focused on high-quality credit on the understanding that investment grade corporate bonds and non-agency mortgages would thrive in a slowing economy.
Pimco’s total return mutual fund domiciled in the US, its flagship product, returned 14.35% before fees in 2009.

Thursday, August 19, 2010

Overseas demand rises for Indian bonds

Overseas demand rises for Indian bonds

Foreign institutions have hit their investment limits for corporate and government bonds in India, according to RBS, but those thresholds are likely to rise.

By Joe Marsh | 18 August 2010
Keywords: india | corporate bonds | bonds | fixed income | rbs
Foreign institutional investors have recently become a driving force in India’s secondary market for corporate bonds, accounting for almost half of overall volumes in the first four months of 2010, says UK bank RBS. They have also hit their ceiling for investments in government securities (GSecs).
However, the Indian authorities are considering raising the aggregate thresholds, which stand at $5 billion for GSecs and $15 billion for corporate bonds, added RBS in a report on the country's fixed-income market published yesterday.
But it’s a gradual process. “While the Indian fixed-income market is characterised by a well-defined set of rules and regulations and a deep, mature GSec market,” says the bank. “the slow growth of the corporate bond market as well as retail investors’ participation are areas for future development.”
“Although credit rating and issuer knowledge are generally quite well developed relative to other emerging markets, an active secondary market and credit curve have not fully evolved,” adds RBS. “Addressing these deficiencies are acknowledged priorities of the Securities and Exchange Board of India.”
The Reserve Bank of India, for its part, has every now and then initiated measures to develop the corporate bond market, which stands at "barely a fraction" of the government bond market, says the report.
Among domestic institutions, the major investors in the GSec market include banks, pension funds and insurance companies, with banks accounting for just below 70% of the total market.
Meanwhile, retail investors have very low participation in the fixed-income market, but over the past few years, they have gradually increased their participation in mutual funds and bond funds, says RBS. To enable small and medium-sized retail investors to participate in the auction process, the RBI has introduced non-competitive bidding in GSecs.
On the supply side, central and local governments are the biggest issuers in the market, notes RBS, with banks and financial institutions the next largest.
But corporate issuance has not been keeping pace with the average market growth over the years. The average issue size of corporate bonds is a mere 1 billion rupees ($21 million), as against the average GSec issue size of 150 billion rupees.
As for tenor, the GSec market also offers the longest maturity -- of up to 30 years -- while corporate bonds have tenors going out to 20 years, says RBS. That said, the maturity profile of the GSec market is bunched up heavily in the four-year to eight-year segment.
© Haymarket Media Limited. All rights reserved.