Thursday, April 29, 2010

สรุปภาวะตลาด ตราสารหนี้ไทย เดือนมกราคม 2553 ถึง เมษายน 2553


สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย เดือนมกราคม 2553 ถึง ปัจจุบัน
ตั้งแต่ต้นปี 2553 ถึงช่วงเวลาปัจจุบันเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ปรับตัวลดลงและแบนราบมากขึ้น (Bullish-Flattening) โดยการเปลี่ยนแปลงของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในลักษณะดังกล่าวเป็นผลพวงมาจาก การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของธุรกิจประกันชีวิต, การไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Funds Inflow) และ ปัญหาการเมืองที่ปะทุรุนแรงเกินกว่าคาดการณ์ของหลายๆฝ่ายจนเป็นเหตุให้ภาพการฟื้นตัวที่ดูสดใสของประเทศไทยต้องสะดุดตัวลง


จากรูปข้างบนแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเราสามารถระบุถึงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้
·                    การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของธุรกิจประกันชีวิตตั้ง แต่ปี 2552 ถึงช่วงเวลาปัจจุบัน เป็นผลพวงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์และการเร่งขยายช่องทางการขายประกันชีวิตผ่านธนาคารพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้ธุรกิจประกันชีวิตจึงมีเบี้ยประกันรับสุทธิในแต่ละเดือนในปริมาณค่อนข้างมาก จึงมีความต้องการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่สอดคล้องกับอายุเฉลี่ยของกรมธรรม์เป็นจำนวนมาก
·                    ด้านเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้านั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภูมิภาค กล่าวคือเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มการฟื้นตัวดูชัดเจนกว่าเศรษฐกิจภูมิภาคอื่นๆโดยเปรียบเทียบ เพราะเศรษฐกิจภูมิภาคอื่นๆอย่างสหรัฐฯเองมีการฟื้นตัวเช่นกันแต่ยังดูค่อนข้างเปราะบาง ส่วนสหภาพยุโรปนั้นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่เพราะประเทศสมาชิกบางประเทศยังประสบปัญหาภาวะหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทางเศรษฐกิจ (GDP) ค่อนข้างสูงจนเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากนี้เม็ดเงินที่ไหลเข้ามานั้นนอกจากจะเป็นเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแล้วบางส่วนยังเป็นเม็ดเงินลงทุนไทยเองที่อยู่ในสภาพการครบกำหนดของกองทุนรวม Term Fund ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเงินส่วนนี้ที่ครบกำหนดเข้ามาถูก roll-over ออกเป็น Term Fund ใหม่เพียงแค่บางส่วน ฉะนั้นจึงมีสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาประเทศไทยและพักเงินในตลาดตราสารหนี้เป็นจำนวนมาก
Foreign holdings of Indonesia, Korea, Malaysia and Thailand Government Bonds (% of O/S)

·                    ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ปะทุขึ้น มีระดับความรุนแรงเกินกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ไว้เบื้องต้น จึงเป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมทีที่จะเลือกดำเนินนโยบายการเงินตามปกติ (Normalization Process) จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ต่ำเป็นประวัติการณ์จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศไทยต่ำที่สุดในภูมิภาคเดียวกัน ต้องเลื่อนกระบวนการ Normalization Policy Rate ดังกล่าวออกไปสักระยะโดยรอให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองทุเลาลงก่อน ส่วนด้านปัญหาการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินบาทนั้น เราคาดว่าโอกาสถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือมีแต่ไม่รุนแรงนัก โดยกรณีร้ายแรงที่สุดคือปรับลดจาก ฺฺฺBBB เป็น BBB- เพียงแค่หนึ่งลำดับขั้นเท่านั้น โดยพิจารณาจากฐานะทางการคลังที่ยังแข็งแกร่งของประเทศไทยรวมถึงภาระหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 44.23 ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่สูงมากนัก ฉะนั้นหากประเทศไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจริง เรามองว่าแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติอาจจะไม่รุนแรงมากนักเพราะความสามารถในการชำระหนี้ของไทยที่แท้จริงยังดูแข็งแกร่งอยู่

·                    อย่างไรก็ตามจากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด ทำให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บรายได้ภาษีได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ภาครัฐจึงมีความจำเป็นในมีความจำเป็นในการกู้เงินผ่านตลาดพันธบัตรน้อยลง กอปรกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประกาศลดปริมาณการออกพันธบัตรระยะยาวลงในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2553 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักลงทุนที่มีความต้องการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวรีบที่จะลงทุนเนื่องจากเกรงว่าปริมาณอุปทานพันธบัตรจะไม่เพียงพอกับเม็ดเงินลงทุนของตน

Thursday, April 22, 2010

Philippine c.bank holds rate steady, as expected

    MANILA, April 22 (Reuters) - The Philippine central bank on Thursday kept its overnight borrowing rate at 4 percent, as
expected, but further reduced a short-term lending scheme as it
gradually withdraws stimulus measures introduced during the
global financial crisis.
    The budget for short-term money under a peso rediscounting
facility was cut in half to a pre-crisis level of 20 billion
pesos ($450 million).
    
    KEY DATA: 
    Announcement date         Borrowing rate    Lending rate 
                               (overnight, percent) 
                
 --------------------------------------------------------   
 April    2010                  4.0              6.0 
 March    2010                  4.0              6.0 
 January  2010                  4.0              6.0 
 December 2009                  4.0              6.0 
 November 2009                  4.0              6.0 
 October  2009                  4.0              6.0 
 August   2009                  4.0              6.0 
 July     2009                  4.0              6.0 
 May      2009                  4.25             6.25 
 April    2009                  4.50             6.5 
 March    2009                  4.75             6.75 
 January  2009                  5.0              7.0 
 December 2008                  5.5              7.5 
 November 2008                  6.0              8.0 
    Note: The Philippine central bank holds a rate-setting
meeting every six weeks. 
    
    CONTEXT: 
   - All 12 economists polled by Reuters this week had expected
no change in the policy rate, but they also see rates rising by
25 basis points at one of the following three policy meetings. 
    - Four economists expect the central bank to raise rates at
its next policy meeting on June 3, less than a month after
national elections on May 10, with a majority, or eight analysts,
seeing a rise at either the July 15 or Aug. 26 meetings. 
    - Central bank Governor Amando Tetangco has said there was no
risk of asset bubbles in the country so far despite the rise in
property and stock prices, but said authorities have the leeway
to tighten monetary policy to counter such risks even if
inflation remained under control. [ID:nSGE63B04G] [ID:nSGE63D0AI]
    - The central bank began unwinding crisis-driven liquidity
measures in January, raising by 50 basis points to 4 percent the
rate for lending short-term money under a peso rediscounting
window. This was followed by cuts in the budget for the facility.
    - Last month, Diwa Guinigundo, deputy central bank governor,
said the outlook for Philippine inflation was "very, very
benign," although the central bank was watching for any risks of
a build-up in excess liquidity. [ID:nSGE6360GL]
    - Tetangco said last month it was likely there would be no
change in interest rates in the first half unless risks to the
inflation outlook emerged. [ID:nnSGE62M004]
    - The central bank slashed rates by a total of 200 basis
points between December 2008 and July 2009 to soften the blow of
the global recession. 
    

Moody's cuts Toyota's ratings, outlook negative

TOKYO, April 22 (Reuters) - Moody's Investors Service cut
recall-hit Toyota Motor Corp's <7203.T> credit ratings on
Thursday, saying that it expected the automaker's current low
profitability to continue and that litigation costs could be
significant.
    The Japanese automaker's once market-leading reputation for
quality has been tarnished by a swathe of recalls, particularly
in the United States where it recently agreed to pay a record
$16.4 million federal fine. [IDn:N19194939]
    "The rating action reflects the ongoing low level of
profitability evident at Toyota, and which we expect to continue
for an extended period," Tadashi Usui, a Moody's vice president
and senior analyst, said in a statement.
    Toyota had estimated in February that previous recalls would
cost it $2 billion for its fiscal year ending in March.
    But it has recalled more vehicles since that estimate, and
most analysts believe the costs will be significantly higher.
    Toyota shares extended losses after the announcement to an
intraday low of 3,590 yen for a drop of 1.6 percent on the day,
in line with the broader market. Analysts said the shares had
largely factored in the bad news at Toyota. [ID:nTOE63L034]
    "The downgrade is reflecting the concerns market players felt
back in January in a delayed manner. I don't expect this to have
a significant impact on Toyota shares," said Mitsushige Akino,
chief fund manager at Ichiyoshi Investment Management.
    Moody's cut the rating to Aa2 from Aa1, saying there was
uncertainty over Toyota's pricing power and a risk that its
operating profit margin would remain well below that appropriate
for its rating level until 2012 and possibly beyond.
    "Its product quality and recall challenges -- largely
centered in the U.S. -- have created significant uncertainty over
whether it can maintain the pricing power it has historically
achieved over its rivals," Usui said.
    "In coming years, further impacting profitability, on an
extraordinary basis, will be the litigation costs associated with
the recall; and while the size of such costs is hard to quantify,
they could be material. But, for now, its capital and liquidity
reserves should be enough to deal with any problems," Usui said.
    But Moody's also said it expects Toyota to remain the leading
global auto maker in coming years, adding that its current rating
should find support from its very strong balance sheet and large
liquid reserves.

Monday, April 12, 2010

Thai violence worries credit rating agencies


   
xRTR> UPDATE 2-Thai violence worries credit rating agencies
    * Credit rating agencies concerned by deadly Thai clashes
    * Thai c.bank worried prolonged turmoil could hurt ratings
    * Further deterioration in stability would harm govt finances
    * Share prices fall, credit default costs climb

   
    HONG KONG, April 12 (Reuters) - Violent protests in Bangkok
which killed 21 people at the weekend could fuel further
political instability in Thailand and does not augur well for its
credit rating, a Standard & Poor's (S&P) analyst said on Monday.
    Rival Fitch Ratings and Thailand's central bank governor also
expressed concerns that the country's sovereign credit rating
could be at risk from the growing political turmoil.


    Thousands of anti-government protesters are still on the
streets of Bangkok and in a defiant mood after the army failed to
move them on Saturday from an area where they have camped out for
a month.

    The clashes between security forces and protesters, the worst
political violence in the country since 1992, drove Thai stocks
<.SETI> down 5 percent to a four-week low on Monday while the
cost of insuring Thai debt jumped.
    "The current negative outlook captures the underlying
political tensions, although the latest clashes in Bangkok
suggest there could be further deterioration in political
stability," said Kim Eng Tan, sovereign analyst at S&P.
    "The latest developments do not appear to argue for
restoration of a stable outlook," he told Reuters.
    Last April, S&P lowered Thailand's domestic currency rating
to A-minus from A and kept its outlook on negative. The agency
also has a negative outlook on Thailand's BBB-plus foreign
currency rating.
    Tan said the street protests of the recent past were often
diffused by a change in government, but this time the government
appeared likely to retain power in the near term, resisting
protesters' demands to step down.
    Thailand's government is expecting to post a budget deficit
of 3.8 percent of gross domestic product this year, more than
double that of Indonesia, after posting a deficit of over 5
percent of GDP in its fiscal year to October 2009.
    A sharp drop in tourism revenues as a result of the clashes,
or a sudden exodus of foreign investors would add to the fiscal
pressures facing the government even as the economy tries to
shake off the lingering impact of the global financial crisis.
    Thailand, along with other Southeast Asian economies, has
seen foreign capital surge into its markets in recent months on
the region's strong economic growth prospects.
 Fitch said it was "particularly concerned" about Thailand's
local currency rating.
    "We expect a deterioration in public finances of Thailand,
given the escalated political uncertainty ...," Vincent Ho,
associate director of Fitch's Asia Sovereign ratings, told
Reuters.
    Fitch rates Thailand's foreign currency debt as "BBB" with a
stable outlook while the local currency is rated "A-minus" with a
stable outlook.
    Ho said it was too early to say if Fitch would change is
outlook or ratings on Thailand as the current political situation
was "fluid", but he doubted a snap election would end the
political deadlock.
    Financial markets have turned jittery after weeks of largely
peaceful protests turned violent.
    Thailand's five-year credit default swaps (CDS)
, which reflect the cost of insuring its debt from
default or severe deterioration, moved out to trade at its widest
in 7 weeks.
    Asked if Thai ratings faced the possibility of being
downgraded, Bank of Thailand Governor Tarisa Watanagase told
reporters: "Yes, there is a risk and if that happens, it will
affect borrowing costs in the private sector."
 ---------------------------------------------------------
 For a graphic showing Thai CDS underperformance click on:
 http://r.reuters.com/gab47j
 ---------------------------------------------------------
    "So far we have not seen a serious decline in foreign direct
investments but increasingly people will be worried about
political tensions spilling over into areas of affecting their
long term investments," said S&P's Tan.
    Foreign investors were net sellers of 1.76 billion baht
($54.6 million) of stock on Friday, their second straight day of
net selling, reducing their purchases since Feb. 22 to 55.73
billion baht ($1.73 billion).
    Foreigners had bought $1.8 billion in Thai stocks from Feb.
22 until Thursday. The recent foreign buying of Thai stocks was
spurred by cheap valuations and a recovery in the economy.


 End.



ปัญหาเรื่องเส้นผลตอบแทน Yield curve ของตราสารหนี้ จาก Pantip ห้องสินธร

รู้ว่าหาคนที่เล่นบอนด์ในนี้ได้ยาก (ส่วนใหญ่จะเป็น FM ซึ่งก็คงไม่ได้อยู่แถวนี้) แต่ไม่รู้จะไปถามใคร อยากได้ idea เลยลองมาตั้งดู
ประเด็นมีดังนี้ครับ

1. ปกติ การซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เราก็ซื้อขายโดยระบุ YTM มากกว่าจะเป็น price (ไม่ว่าจะเป็น dirty หรือ clean) และ หากซื้อได้ นั่นหมายความว่า เราจะได้ผลตอบแทนจากการถือตราสารหนี้ตัวนั้น เท่ากับ yield ที่เราเสนอ (โดยคิด time value ของกระแสเงินสดแล้ว) เช่น หากตกลงซื้อ LB155A ที่ 3.5% ก็จะได้ 3.5% ไปตลอดอายุ (การลงบัญชีก็คิด Amortized premium หรือ discount แล้วแต่กรณี จนค่าเป็น par ในวันหมดอายุ)

2. แม้ว่าในตำราจะบอกว่า yield curve มีหลายรูปแบบ แต่จริง ๆแล้วในภาวะปกติ มักจะเป็นรูปแบบ normal yield curve เสียเป็นส่วนใหญ่ (ผมดูมา 5 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็น YC บ้านเราเป็นแบบอื่นเลย แต่รู้สึกของ US จะมีแบบอื่น

3. มันมี technique ในการลงทุนอันนึงที่เรียกว่า riding the yield curve (เรียกถูกหรือเปล่า) คือ มองว่า ถ้าYC ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย การถือตราสารหนี้ที่เวลาผ่านไป ก็จะได้กำไรจะ yield ที่ลดลงตามเวลา
ตย. สมมุติ วันนี้ พันธบัตรอายุ 5 ปี YTM 3.5% พันธบัตรอายุ 4 ปี YTM 3.0% เราซื้อพันธบัตรอายุ 5 ปี ที่ 3.5%
1 ปีผ่านไป YCยังเหมือนเดิมทุกประการ พันธบัตรที่เราถือ ก็จะอายุ 4 ปี และ YTM ในตลาดคือ 3.0% (สมมุติอีกนิดนึงว่า duration = อายุ ) ก็จะได้ว่าหากเราขาย เราก็จะได้ ผลตอบแทนที่ 3.5% ของการถือมา 1 ปี รวมกับ capital gain อีก 0.5*4=2% กลายเป็นว่าเราได้ผลตอบแทน 3.5+2=5.5%

แน่นอนว่า สมมุติฐานนี้มันค่อนข้าง rigid ที่บอกว่า YC 1 ปี ไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่หากมองอีกมุมนึงก็หมายถึงว่า การซื้อ bond ที่อยู่ในตำแหน่งที่ YC steepening มาก ๆ เราก็มีแต้มต่อพอควร แม้ว่าดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น แต่ส่วน handicap ที่เรามีก็จะช่วยลดความเสี่ยง ร่วมกับ duration ที่ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป ก็ยิ่งที่ให้การซื้อ bond ที่ ตำแหน่งที่ YC steepening แม้ว่าจะรู้ว่าดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ก็ยังน่าสนใจ เพราะมี buffer ป้องกันในระดับนึง

คำถามคือ มันมีการวัดที่เป็นรูปธรรมไหม ว่า พันธบัตรที่อายุเท่าใด ที่จะได้ข้อดีของ riding the yield curve มากที่สุด (คือเหมือนกับการคิด yield แบบที่เอา probability ของการเปลี่ยนแปลง yield มาร่วมด้วย) เพราะศักยภาพ ของพันธบัตรที่มีแนวโน้มที่ yield จะลดลงเร็วเมื่อเวลาผ่านไป น่าจะมี ค่ามากกว่าตัวที่อยู่ในส่วน flattening curve

ช่วยสงเคราะห์หน่อย แล้วกันครับ อยากได้ความเห็นจากหลายๆ ท่าน

จากคุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 21:25:09 [แก้ไข]
ถูกใจ : CuSO45H2O





ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

มาตอบให้นะคะ เราเองอยู่กับตลาดมาได้สัก สามปีครึ่ง ตอบจากสิ่งที่เจอนะคะ
อาจจะไม่ถูกทั้งหมด ตอบเท่าที่รู้นะคะ

ข้อ ที่ 1. ตราสารหนี้ปกติ plain vanilla เวลาซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เรา quote กันเป็น yield คะ ซึ่งผลตอบแทนจากการถือครองเราจะได้เท่ากับ yield ที่เราซื้อมา ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไม่มีภาษี และคุณต้องถือตราสารหนี้ตัวนั้นจนกระทั่งครบอายุ

แต่มีบางกรณีที่คุณ อาจได้ผลตอบแทนไม่เท่ากับ yield ที่ซื้อไป คือกรณีตราสารหนี้ที่คุณซื้อไปมันหมดอายุ mature ในวันเสาร์-อาทิตย์ แล้วผู้ออกตราสารไม่จ่ายผลตอบแทนชดเชย ในระหว่างวันที่รอเรื่องโอนเงิน เคสนี้ yield to maturity จะไม่เท่ากันกับผลตอบแทนที่คุณได้รับ

ส่วน เรื่องการลงบัญชี เข้าใจถูกต้องแล้วคะ



ข้อ 2 yield curve บ้านเราเคยมีรูปแบบอื่นคะ

แต่โดยเฉลี่ยจะเป็น normal มีช่วงปี 2008 เป็นปีที่ yield curve ระหว่างปีหน้าตาค่อนข้างแปลก คือ invert ในบางช่วงอายุ อย่าง 1mth yield > 3yr yield
ปีนั้น คลับคล้ายคลับคลาว่า yield curve หน้าตาเหมือน สัญญลักษณ์ Nike เลย
รูป ตามที่ post คะ






จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 21:59:21 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 2 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

นั่งรอจดยิก ๆ เลยครับ

จาก คุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:02:53 [แก้ไข]




ความคิดเห็นที่ 3 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

คำถามคือ

มันมีการวัดที่เป็นรูปธรรมไหม ว่า พันธบัตรที่อายุเท่าใด ที่จะได้ข้อดีของ riding the yield curve มากที่สุด (คือเหมือนกับการคิด yield แบบที่เอา probability ของการเปลี่ยนแปลง yield มาร่วมด้วย) เพราะศักยภาพ ของพันธบัตรที่มีแนวโน้มที่ yield จะลดลงเร็วเมื่อเวลาผ่านไป น่าจะมี ค่ามากกว่าตัวที่อยู่ในส่วน flattening curve

จาก คุณ : krit587 [FriendFlock] [Bloggang]


เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:12:18 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 4 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ข้อ 3 นะคะ มี เทคนิคนั้น ใช่คะ riding the yield curve

คือ เราสมมติว่า yield curve มีรูปแบบ normal yield curve คือง่ายๆ อายุคงเหลือมากๆ ต้องมี yield มากกว่าอายุคงเหลือน้อยๆ แล้วเมื่อเวลาผ่านไป สมมติผ่านไป 1 ปี ให้ yield curve ไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงใดๆ pattern ยังไงก็เป็นอย่างนั้น

สมมติว่า ปีที่แล้ว Bond อายุคงเหลือ 4 ปีั ให้อัตราผลตอบแทน 4 %
Bond อายุคงเหลือ 5 ปีั ให้อัตราผลตอบแทน 5 %

เมื่อปีก่อนเราซื้อบอนด์ที่อายุคงเหลือ 5 ปี ที่ yield = 5% ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี บอนด์ที่เราซื้อไว้ปีก่อนก็จะเหลืออายุแค่ 4 ปี เท่านั้น
ภายใต้ สมมติฐานที่เราบอกว่า yield curve หน้าตาเหมือนเดิมมิเปลี่ยนแปลง

เรา ก็สามารถขาย bond ตัวนั้นที่ yield = 4% ตรงนี้คือ return ที่จะได้จากกลยุทธ์นี้คะ

คือตัว riding the yield curve = roll down = return from the impact of time

ส่วนผลตอบแทนของการถือมา 1 ปี ที่ 5% จริงๆเข้าใจว่าไม่รวมอยู่ใน riding the yield curve นะคะ เพราะส่วนตรงนั้น น่าจะเรียกว่า carry มากกว่า
(ภายใต้สมมติฐานว่าคุณไม่ ได้กู้มาลงทุนนะคะ)

ฉะนั้นการลงทุนภายใต้ข้อสมมติ yield curve ไม่เปลี่ยนแปลง คุณจะได้
total return = riding the yield curve ( Roll down return) + Carry return

จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:30:33 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 5 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

กลยุทธ์ riding the yield curve จะได้ผลดี มาก หาก yield curve steep มาก..อันนี้จริงค่ะะ

แต่ความเป็นจริงที่เกิดใน ตลาดคือ yield curve มันเปลี่ยนแปลงคะ กลัวจะเจอ ืon-parallel shift มากกว่า แล้วตัวเราเองมองว่า โครงสร้างตลาดตราสารหนี้เราบางช่วงอายุ ดูบิดเบี้ยวพิกล พูดง่ายๆว่า yield curve ปัจจุบัน ถ้าตัด curve มานั่งดู มันไม่สะท้อนเรื่อง การ trade บน view ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ถ้าดูทั้ง curve พบว่า ตอนนี้ทฤษฎี Market Segmentation กำลังมีผลอย่างมากกับตราสารหนี้ระยะยาวมากๆ

ง่ายๆ คุณลองสังเกต ผลประกอบการณ์ ธุรกิจประกันชีวิตในปีที่ผ่านมาสิ ด้วยเหตุนี้เราถึงรู้สึกแบบนั้น ซึ่งเหตุและปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิต ขยายตัวอย่างมากในปีก่อนๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ การรุกคืบของธุรกิจ Bancassurance ประกันพ่วงเงินฝากพวกนี้

ถ้า ธุรกิจตรงนี้เริ่มชะลอลงเมื่อไหร่ อาจจะทำให้ ความต้องการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวของประกันชะลอความร้อนแรงลงก็ได้... ตรงนี้ก็ส่งผลอีก.. แค่คงไม่เกิดขึ้นเร็วในต้นปีนี้หรอกคะ

ส่วน เรื่องการวัดเป็นรูปธรรม ว่า ตราสารตัวใดทำ riding the yield curve ได้ total return สูงสุด เราใช้ bloomberg ทำได้คะ

แต่ถ้าทำเอง เขียน excel เหนื่อยหน่อย เพราะต้องรู้ universe ตราสารหนี้ที่จะลงทุนทุกตัีว รวมทั้ง feature ของตราสาร ไหนจะผูกสูตรคำนวนราคาอีก เพื่อที่จะหา price change

แค่พันธบัตรรัฐบาลไทยปัจจุบันก็มีร่วม 54 ตัว เขียนเองเหนื่อยอะคะ

หรือง่ายๆ ก็ ใช้ทางลัด duration X yield change ก็พอเห็นภาพคร่าวๆ

จาก คุณ : tubbygal [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 11 เม.ย. 53 22:43:50 [แก้ไข]
ถูกใจ : krit587





ความคิดเห็นที่ 6 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

ขอสารภาพว่า มึนมากๆ ไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านจขกท.และผู้ตอบได้discuss กันแม้แต่น้อย >_<

จาก คุณ : แม่น้องอะตอม [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 12 เม.ย. 53 05:56:31 [แก้ไข]

Wednesday, April 7, 2010

วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุน


วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุน
จริยา พิมลไพบูลย์
ตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นมา นักวิเคราะห์หรือบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายต่างพูดจาเป็นเสียงเดียวกันว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้น่าจะมีแนวโน้มแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเองธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และภาครัฐต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น และนำไปสู่การส่งสัญญาณของธปท.ถึงโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้นักลงทุนต้องคอยประเมินปัจจัยต่างๆเพื่อจับจังหวะการลงทุนที่ปลอดภัยและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเม็ดเงินลงทุนได้อย่างสูงที่สุด ดังนั้น วันนี้ผู้เขียนจึงกล่าวถึง “วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ”








ที่มา : http://www.scribd.com/doc/12814313/วัฏจักรเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปเราสามารถจำแนกวัฏจักรเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเศรษฐกิจตกต่ำ, ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว, ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง และ ระยะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งการหมุนเวียนของภาวะเศรษฐกิจในระยะต่างๆนั้น จะมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงสลับไปสลับมาเหมือนลูกคลื่น (phases) จากระยะที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตจนถึงขีดสุดแล้วค่อยๆ ชะลอตัวลงมาจนถึงจุดต่ำสุด และจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นไปใหม่ หมุนเวียนเป็นวงจรอย่างนี้เรื่อยไป โดยทั่วไปวัฏจักรเศรษฐกิจมักกินเวลาโดยประมาณ 42 – 54 เดือน ซึ่งควาวสั้นหรือยาวของรอบวัฐจักรเศรษฐกิจอาจจะขึ้นกับผลของนโยบายการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลัก มูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆมักเปลี่ยนแปลงมูลค่าไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน เราจึงแยกย่อยสินทรัพย์ลงทุนตามวัฏจักรเศรษฐกิจตามระยะ (stage) ซึ่งถูกแสดงในแผนภาพข้างต้น
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ระยะตกต่ำ (Stage 1) ณ ช่วงเวลาดังกล่าวธนาคารกลางมักจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยต่ำนี้ การลงทุนในเงินฝากประจำระยะยาว, ตราสารหนี้ทั้งพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ และ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่อายุเฉลี่ยของตราสาร (Duration) เกิน 1 ปี จะให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า เนื่องด้วยช่วงเศรษฐกิจถดถอยเป็นช่วงเวลาที่กำลังซื้อของประชาชนลดน้อยถอยลง ระดับราคาสินค้าและบริการปรับตัวลดลง ผลประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่จึงไม่สู้ดีมากนัก เมื่อธนาคารกลางเริ่มส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงพยายามล็อคอัตราผลตอบแทนด้วยการเลี่ยงจากการลงทุนตราสารทุนไปลงทุนตราสารหนี้แทน ด้วยเหตุนี้ราคาของตราสารหนี้จึงมีมูลค่าเพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าวค่อนข้างมาก นอกเหนือจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)ก็เป็นอีกทางเลือกในการออมเงินในช่วงดอกเบี้ยต่ำ เพราะได้รับเงินปันผลค่อนข้างสูง แต่ก็มีข้อเสียคือสภาพคล่องค่อนข้างจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนทางเลือกอื่น
ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว (Stage 2) ภายหลังที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ระยะหนึ่ง ทำให้ต้นทุนของภาคเอกชนลดลง เศรษฐกิจจึงค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพราะต้นทุนภาคเอกชนที่ลดลง ส่งผลให้ผลประกอบการบริษัทต่างๆเริ่มปรับตัวดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นปรับตัวสูงขึ้น ส่วนการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้นั้น ช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนไม่ควรรีบร้อนที่จะล๊อคเงินฝากประจำระยะยาวในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ควรที่จะลดระยะเวลาการฝากประจำลงหันมาฝากประจำในระยะสั้นเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในจุดที่ต่ำสุด ด้านการลงทุนในตราสารหนี้นั้นอาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือ (Duration) ในพอร์ตไม่ยาวมากนัก เพราะช่วงอัตราดอกเบี้ยสู่จุดต่ำสุดจะเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มมีการคาดการณ์โอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตหากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ซึ่งจะมีผลราคาตราสารหนี้ระยะยาวมีโอกาสเผชิญความผันผวนของราคาในด้านลบได้ ด้านการลงทุนหุ้นกู้เอกชนนักลงทุนอาจจะเน้นลงทุนในหุ้นกู้พวกกลุ่ม (High Yield) ที่อันดับความน่าเชื่อถือไม่สูงนัก ภายใต้สมมติฐานที่ว่าบริษัทเหล่านี้จะมีความสามารถในการชำระหนี้ที่สูงขึ้นตามผลประกอบการที่ดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว
ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Stage 3) เมื่อกลไกทางเศรษฐกิจสามารถทำงานได้ตามปกติ ประชาชนมีกำลังศื้อเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจมีกำไร เศรษฐกิจจึงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเวลาดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อก็ทยอยปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกันและทำให้ทางการต้องเริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะเน้นการลงทุนในพวกสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่าง อาหารและน้ำมัน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของเงินเฟ้อ ดังนั้น ถ้าเราลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนตามราคาอาหารและน้ำมัน ที่เพิ่มขึ้น ก็เสมือนว่าเราได้รับผลตอบแทนเข้ามาชดเชยกับเงินที่เราต้องจ่ายออก ซึ่งก็ถือว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงโดยธรรมชาติ โดยการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ปัจจุบันนี้สามารถทำง่ายขึ้นโดยผ่านกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ นักลงทุนอาจจะเลือกลงทุนผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ด้านการลงทุนในหุ้นกับตราสารหนี้นั้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างร้อนแรงอาจจะลดความน่าสนใจลง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวดอกเบี้ยค่อยๆขยับสูงขึ้น ต้นทุนธุรกิจจึงค่อยๆปรับเพิ่มขึ้น กำไรจึงลดลงลง ราคาหุ้นจึงมีโอกาสปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ด้านตราสารหนี้นั้นดอกเบี้ยตลาดและเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนตราสารหนี้ลดลง ราคาตราสารหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีโอกาสปรับตัวลดลงได้
ระยะเศรษฐกิจถดถอย (Stage 4) และเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นสูงถึงช่วงสูงสุด อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับค่อนข้างสูงควรลงทุนใน เงินฝาก หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยตราสารค่อนข้างสั้นมากหรือกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี แต่หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นหรือหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างต่ำ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวกำไรที่ค่อยๆลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น กอปรกับเศรษฐกิจอยู่ในจุดที่สูงสุดก็เพิ่มแรงคาดการณ์ว่าในอนาคตเศรษฐกิจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวซึ่งก็ส่งผลให้การคาดการณ์กำไรภาคธุรกิจที่ลดต่ำลง ความสามารถในการชำระหนี้ก็ลดลงด้วยเช่นกัน ฉะนั้นราคาหุ้นและหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อไม่สูงนักในช่วงเวลาดังกล่าวจึงปรับตัวลดลง
สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่จุดต่ำสุด เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นระดับที่ไม่อันตรายต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก ซึ่งตรงกับวัฐจักรเศรษฐกิจในช่วงรอยต่อระหว่าง ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว เข้าสู่ระยะเศรษฐกิจเฟื่องฟู แม้จะมีปัญหาการเมืองเป็นอุปสรรคบ้าง ในช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนควรจัดพอร์ตรอรับเศรษฐกินขาขึ้น โดยเน้นเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ด้านฝั่งหุ้นก็เน้นลงทุนกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น เช่นหุ้นกลุ่มธนาคาร หากมีการจัดการต้นทุนที่ดีพอด้วยการล็อคต้นทุน เงินที่จะปล่อยกู้ไว้ได้ที่ระดับต่ำ (อัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากที่ให้แก่ผู้ฝากเงิน) แล้วไปปล่อยกู้ตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น  ก็จะสามารถได้กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest rate spread) ที่กว้างขึ้นได้ เป็นต้น ด้านเงินฝากนั้นนักลงทุนไม่ควรรีบฝากประจำระยะยาวหรือลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยตราสารค่อนข้างยาว ในระยะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังเปลี่ยน Trend มาเป็นช่วงขาขึ้น และดูเหมือนว่าจะขี้นไปเรื่อยๆ เพราะนักลงทุนจะเสียโอกาสจากอัตราผลตอบแทนการลงทุนใหม่ (Re-Investment Rate) ที่ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นได้ รวมถึงมีโอกาสเผชิญกับปัญหา NAV กองทุนรวมตราสารหนี้ติดลบจากการ Mark to market มูลค่าของตราสารที่ลดลง ฉะนั้นในช่วงเวลานี้นักลงทุนควรเน้นลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) มากกว่า